การประเมินกระบวนการจัดการสิ่งส่งตรวจเพื่อการเพาะเลี้ยง Mycobacteria

Main Article Content

สุวรรณา เพ็ชรโต
ถวัลย์ ฤกษ์งาม
วิจิตร วงค์ล่ำซำ

Abstract

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่สำคัญในหลายประเทศทั่วโลก การเก็บและจัดการเสมหะจากผู้ป่วยอย่างเหมาะสมจะส่งผลต่อการตรวจพบ mycobacteria ได้ การเพาะเชื้อวิธีมาตรฐานมีทั้งการใช้เครื่องเพาะเชื้ออัตโนมัติและการเพาะเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อ งานวิจัยนี้ศึกษาวิธีที่เหมาะสมเพื่อเตรียมเสมหะก่อนทำการเพาะเชื้อ โดยเปรียบเทียบวิธี decontamination ที่จากเดิมใช้ 4 % NaOH ร่วมกับ N-acetyl-L-cysteine (NALC) เปรียบเทียบกับการใช้ 4, 6 และ 8 % NaOH ร่วมกับ NALC ที่ผ่านการกรอง และใช้ 4 % NaOH เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ได้ศึกษาผลกระทบของการแช่แข็งเสมหะต่อการเพาะเลี้ยงเชื้อ และศึกษาประสิทธิภาพของการใช้วิธีการแนะนำการเก็บเสมหะร่วมกับแนบเอกสารแนะนำ ผลการศึกษาพบว่าการใช้ 4 % NaOH ร่วมกับ NALC ที่ผ่านการกรองแล้ว เมื่อใช้เครื่องเพาะเชื้ออัตโนมัติมีอัตราการพบ mycobacteria ที่ไม่มีการปนเปื้อนสูงสุดร้อยละ 88.4 พบอัตราการปนเปื้อนร้อยละ 11.6 และเมื่อเพาะบนอาหารเลี้ยงเชื้อมีอัตราการพบเชื้อร้อยละ 97.7 พบอัตราการปนเปื้อนร้อยละ 2.3 การพบอัตราการปนเปื้อนจากการใช้เครื่องเพาะเชื้ออัตโนมัติสูงกว่าการเพาะบนอาหารเลี้ยงเชื้อเนื่องจากอาหารเหลวที่ใช้สำหรับเครื่องอัตโนมัติมีการเติม growth supplement ทำให้เชื้อชนิดอื่นสามารถเจริญได้มาก การแช่เสมหะที่อุณหภูมิ -20องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 วัน ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราการตรวจพบ mycobacteria และการใช้เอกสารแนะนำการเก็บเสมหะมีผลให้การเก็บเสมหะมีคุณภาพดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) ในด้านปริมาณเสมหะ ลักษณะทางกายภาพ และลักษณะภายใต้กล้องจุลทรรศน์

คำสำคัญ : เชื้อวัณโรค; การกำจัดการปนเปื้อน; การเตรียมเสมหะ

 

Abstract

Tuberculosis is an important infectious disease worldwide. An appropriate collection and processing of patient sputum usually affect mycobacterial detection. Cultivation by conventional culture media and using automation system is considered as a gold standard method for tuberculosis diagnosis. This research study is a proper decontamination method to manage sputum specimens before cultivation. Decontamination process using 4 % sodium hydroxide (NaOH) in combination with N-acetyl-L-cysteine ​​(NALC) was compared with those using 4, 6 and 8 % NaOH with filtered NALC and 4 % NaOH alone. Effect of freezing sputum on mycobacterial detection by culture was also evaluated. Questionnaires related to sputum collection were analyzed. Our results showed that the decontamination with 4 % NaOH and filtered NALC increased mycobacterial growth rate with no contamination up to 88.4 % when using automate  and 97.7 % when culturing by conventional method. Storage sputum at -20 oC for 5 days had not affected significantly on detection rate of mycobacteria in all decontamination methods tested. A suggestion leaflet for sputum collection could help improve sputum quality with statistical significance (p-value < 0.01) in term of a quantity of sputum and appearance characteristics under macroscopic and microscopic examination.

Keywords: mycobacteria; decontamination; sputum preparation

Article Details

Section
Medical Sciences