แนวทางการพัฒนาเกษตรกรในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้านในจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ดุสิต อธินุวัฒน์
วิลาวรรณ เชื้อบุญ
สุพจน์ กลิ่นพ่วง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้านในจังหวัดเพชรบุรี เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และทักษะของกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้าน ที่จะนำไปสู่แนวทางการพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์แบบมีมาตรฐานรับรองในจังหวัดเพชรบุรี มีกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มอย่างง่ายที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้านที่ในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 168 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้านในจังหวัดเพชรบุรี


ผลการศึกษาพบว่า ควรนำประเด็นปัญหาที่สัมภาษณ์เกษตรกรได้มาวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนา ไม่ใช่นำนโยบายมาใส่เป็นแนวทางแก้ปัญหา


  1. เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ส่วนมากเป็นผู้หญิงที่มีอายุเฉลี่ย 50 ปี และมีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีพื้นที่การทำเกษตรเฉลี่ย 4.24 ไร่ต่อคน

  2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบุรี พบว่า การจัดตั้งกลุ่มของเกษตรกรมีเหตุผลเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว และเมื่อมารวมกลุ่มเป็นกลุ่มเกษตรอินทรีย์จะสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาอาชีพให้กับตนเองและกลุ่มที่ประสบสภาวะเดียวกันได้ มีแนวทางและทางออกให้กลุ่มเกษตรได้ มีการดำเนินงานโดยการประชุมปรึกษาหารือกัน เพื่อให้เกิดประเด็นในการกำหนดการบริหารจัดการกลุ่มและการวางแผนหรือกำหนดนโยบายให้เกิดทิศทางการทำงานเดียวกันในทุกด้านได้แก่ ด้านการวางแผนการผลิตที่ดี ทุกกลุ่มมีตราสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์บนบรรจุภัณฑ์ มีการบริหารการเงินและการตลาด และมีเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเข้ามาสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้าน

  3. แนวทางการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้าน ในจังหวัดเพชรบุรี มีอยู่ 3 ประเด็น คือ 1การเพิ่มพื้นที่การผลิตและเพิ่มจำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ รวมถึงการเพิ่มรายได้และสัดส่วนการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ และการยกระดับกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้าน ข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัยครั้งนี้การพัฒนากลุ่มเกษตรกรรายย่อย ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน และนำข้อจำกัดที่พบของของวิจัยมาหาทางออกร่วมกันและบูรณาการร่วมโดยใช้พื้นที่วิสาหกิจชุมชนและเป้าหมายร่วม

Article Details

บท
Biological Sciences

References

Agricultural Research Development Agency (Public Organization). (2018). Organic Farming In the Agricultural Land Reform Area. Agricultural Research Development Agency (Public Organization)

Chaisaeng,V.and Charoen, C. (2021).Study of added competitive advantage on rubber industry cluster in upper North-Eastern’s Provinces: Thailand Science Research and Innovation (TSRI).

Chitsok, A. (2016). Guidelines for promoting organic farmers in Chiang Rai to enter the organic farming standard. (Independent

Study Master’s thesis. Chiang Rai Rajabhat University, Chiang Rai

Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill. Department of Agricultural

Extension (2005). Community Enterprise Promotion act be (2005), Ministry of Agriculture and Cooperatives. The Secretariat Community Enterprise Promotion Board.

Hantrakul,C. (2022). The study of readiness in Financial welfare procedure for organic farming of Sansai District Maerim District

Maetang District and Sankamphang District, Chiang Mai Province. Journal of Lampang Rajabhat University, 11 (1).

Jai-aree, A. (2016,September-October). Guidelines to promote organic agriculture to food security and safety for community: reflection from the operating sector. Silpakorn University Journal, 38(5).

Khrutmuang Sanserm, S., Tangwiwat, P., Yooprasert, B., Keowan, B., & Rattanacharoern, N. (2021). Information Technology Usage for Economic Crop Production of Farmers. STOU Journal of Agriculture (Online), 3(1), 31-44.

Kiewlue,N. (2017). Policy Promoting Organic Agriculture in Pha Ngan, Surat Thani. Bangkok: Chulalongkorn University.

Kongjinda, T. (2017). Crofters acceptance of organic farming in the area of Khom Bang Sub-district Administration Organization Chanthaburi Province. Chanthaburi: Independent Study. M.P.A. (Local Government). Chanthaburi: Rambhai Barni Rajabhat University.

Mingchai, C. (2017). Thai organic farming: Policy context and content analysis.Proceedings of 46th Kasetsart University Annual Conference: Education, Humanities and Social Sciences, Economics and Business Administration, Agricultural Extension and Home Economics.

Mettpranee, L. (2017). Studying on factor achieving (Participatory Guarantee Systems; PGS) Certificate of Organic farmer, Farmers

in Thailand, Research and Development for Land Management Division, Land Development Department, Ministry of Agriculture and Cooperatives

Paopeng, C. (2019). Consumers’ preferences and willingness to pay for the participatory guarantee systems (PGS) label: Final research report. Bangkok: The Thailand Research Fund.

Sangchan, S. (2017). Guidelines for increasing productivity of Organic Products Vegetable) Of Thamsua Community Members in Kaeng Krachan, Phetchaburi Province. Journal of MCU Ubon Review

Srinorachan, S. (2018). Branding process and online marketing communication for organic farming of smart farmer. Retrieved

from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5061.

The Chaiphattana Foundation. (2007). Sufficiency economy and the new theory. Bankok: Amarin Printing and Publishing Public.

Yotsuk, P and Kavichai, P. (2018). Problems and Appropriate Approaches to Implementing Organic Agriculture Policy in Thailand. Journal of Community Development and Life Quality. 5, 1 (Jun.2018), 129-141.