การศึกษาการเจริญเติบโตและความต้องการน้ำของต้นไผ่ 10 พันธุ์

Main Article Content

ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตของไผ่ 10 พันธุ์ ได้แก่ ไผ่ปักกิ่ง ไผ่ตงหม้อ ไผ่ซางนวล ไผ่บงใหญ่ ไผ่ซางหม่น ‘เสียดฟ้า’ ไผ่ซางหม่น ‘ฟ้าหม่น’ ไผ่ซางหม่น ‘นวลราชินี’ ไผ่ไจแอ้นท์ ไผ่กิมซุ่ง และไผ่ตงลืมแล้ง ที่ปลูก ณ สวนไผ่เกษตรกร ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงกันยายน 2555 เป็นระยะเวลาทั้งหมด 18 เดือน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 ศึกษาความต้องการน้ำของไผ่ 10 พันธุ์ โดยวางแผนการทดลองแบบ 10×2 factorial in RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วยปัจจัยศึกษา 2 ปัจจัย โดยกำหนดให้ปัจจัยหลัก คือ พันธุ์ไผ่ต่าง ๆ จำนวน 10 พันธุ์ และปัจจัยรอง คือ ระยะเวลาในการให้น้ำไผ่ ได้แก่ การให้น้ำทุก 2 และ 4 วัน/ครั้ง ในอัตราครั้งละ 10 ลิตร/ต้น ผลการศึกษาพบว่าไผ่ทั้ง 10 พันธุ์ ที่ให้น้ำในช่วง 2 และ 4 วัน/ครั้ง มีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันทางสถิติตลอดระยะเวลาการทดลอง โดยในเดือนที่ 18 หลังปลูกไผ่มีจำนวนลำเฉลี่ยอยู่ในช่วง 3.25-19.12 ลำ/กอ มีความสูงเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.95-7.62 เมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.55-6.91 เซนติเมตร การทดลองที่ 2 ศึกษาการเจริญเติบโตของไผ่ 10 พันธุ์ โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ผลการศึกษาจนถึงเดือนที่ 18 หลังปลูก พบว่าไผ่ทั้ง 10 พันธุ์ มีการเจริญเติบโตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่กิมซุ่ง ไผ่ซางหม่น ‘เสียดฟ้า’ และไผ่ซางหม่น ‘นวลราชินี’ สามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุด คือ มีจำนวนลำ/กอ (6.13, 7.00, 8.63 และ 9.13 ลำ/กอ ตามลำดับ) มีการเจริญเติบโตด้านความสูงเฉลี่ย 8.09, 7.23, 7.16 และ 6.99 เมตร ตามลำดับ และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำไผ่เฉลี่ย 6.22, 6.05, 7.05 และ 6.21 เซนติเมตร ตามลำดับ สูงสุด ส่วนไผ่ที่พบว่ามีการเจริญเติบโตได้ต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบทั้ง 10 พันธุ์ คือ ไผ่ตงหม้อ และไผ่ปักกิ่ง ซึ่งมีจำนวนลำ/กอเฉลี่ย (2.70 และ 4.15 ลำ/กอ ตามลำดับ) ความสูงเฉลี่ย (2.23 และ 2.12 เมตร ตามลำดับ) และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำเฉลี่ย (2.66 และ 2.23 เซนติเมตร ตามลำดับ) ต่ำที่สุด ตลอดระยะเวลาการทดลอง 

คำสำคัญ : ไผ่; ความต้องการน้ำ; การเจริญเติบโต

 

Abstract

A study on the growth of ten bamboo varieties, namely; Pai Beijing (Dendrocalamus sp.), Pai Tong Mor (Dendrocalamus asper), Pai Sang Nuan (Dendrocalamus membranaceus Munro), Pai Bongyai (Dendrocalamus brandisii Kurz), Pai Sang Mon ‘Sead Pha’ (Dendrocalamus sp. cl. Sead Pha), Pai Sang Mon ‘Phamon’ (Dendrocalamus sp. cl. Phamon), Pai Sang Mon ‘Nuan Rachini’ (Dendrocalamus sp. cl. Nuan Rachini), Pai Giant (Dendrocalamus sp.), Pai Kim Sung (Bambusa beecheyana Munro) and Pai Tong Luem Lang (Bambusa beecheyana Munro) had been investigated in bamboo plantation at Sa Kaew sub-district, Muang district, Suphanburi province. All data were collected during the period from October 2011 to September 2012 (18 months). This study was divided into two experiments. The first experiment was to study the need of water of ten bamboo varieties. The experiment was arranged in 10x2 factorial in randomized complete block design (RCBD) with 4 replications. The 1st factor was varieties of bamboo and the 2nd factor was periods of watering including watering every 2 and 4 days per times per 10 liters per plant. The results showed that 10 varieties of bamboo with the watering 2 and 4 days per time were not statistically different in growth. The 18th month bamboo had culm numbers in the range from3.25 to 19.12 culm per clump, average heights in the range from 2.95 to 7.62 meters and the average culm diameter in the range from 2.55 to 6.91 cm. The second experiment was to study on the growth of ten bamboo varieties. The experiment was arranged in randomized complete block design (RCBD) with 4 replications. The results until 18th month after planting showed that 10 varieties of bamboo were statistically different in growth. Pai Tong Luem Lang, Pai Kim Sung, Pai Sang Mon ‘Sead Pha’ and Pai Sang Mon ‘Nuan Rachini’ were the best growth, which had the average culm numbers of 8.09, 7.23, 7.16 and 6.99 meters, respectively and average culm diameters of 6.22, 6.05, 7.05 and 6.21 cm, respectively. The Bamboo with the lowest growth were Pai Tong Mor  and Pai Beijing which had the lowest culm numbers of 2.70 and 4.15 culm per clump, respectively, average heights of 2.23 and 2.12 meters, respectively and average culm diameters of 2.66 and 2.23 cm, respectively. 

Keywords: bamboo; water requirement; growth

Article Details

Section
Biological Sciences