อุบัติการณ์และการวิเคราะห์วิธีตรวจคัดกรองสารเสพติดแอมเฟตามีนในปัสสาวะจากผู้เข้ารับการตรวจและผู้เสียชีวิต ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2556

Main Article Content

กฤษฎา ศิริสภาภรณ์
สุภาพร พุ่มพา
นฤมล เสรีขจรจารุ
พลากร พุทธรักษ์
วารุณี หาญพิทักษ์พงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของสารเสพติดแอมเฟตามีน (AMPH) ในปัสสาวะจากกลุ่มตัวอย่างผู้เข้ารับการตรวจและผู้เสียชีวิตและวิเคราะห์วิธีตรวจคัดกรองสาร AMPH เบื้องต้นที่ตรวจด้วยวิธี rapid immunochromatography strip (IC) โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังช่วงปี พ.ศ. 2553-2556 จากตัวอย่างที่เข้ารับการตรวจ และผู้เสียชีวิตของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จำนวนรวมทั้งสิ้น 5,174 ราย ทำการตรวจคัดกรอง AMPH โดยวิธี IC หากให้ผลบวก จะทำการตรวจยืนยันโดยวิธี enzyme immunoassay (EIA) ด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ ผลการศึกษาพบอุบัติการณ์มีสาร AMPH ในปัสสาวะเท่ากับ 2.9 % โดยจำแนกอุบัติการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2556 ได้เท่ากับ 0.3, 2.1, 4.8 และ 3.0 % ตามลำดับ ผลการตรวจโดยวิธี EIA ไม่เกี่ยวข้องกับ เพศ การมีชีวิต และอายุ อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่ให้ผลบวกคือ 27.0±10.5 ปี (95.0 % CI; 24.9-29.0 ปี) และช่วงอายุ 31-35 ปีพบอุบัติการณ์มีสาร AMPH ในปัสสาวะมากที่สุด สำหรับการทดสอบสาร AMPH โดยวิธี IC มีความไว ความจำเพาะ PPV และ NPV เท่ากับ 100.0, 78.1, 72.0 และ 100.0 % การศึกษานี้สรุปว่าพบอุบัติการณ์สาร AMPH ในปัสสาวะเพิ่มขึ้น 3.1 เท่าในช่วง 2 ปีหลังของการศึกษา และวิธี IC มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.0 % ดังนั้นควรศึกษาและพัฒนาวิธีตรวจให้มีประสิทธิภาพสูงในระดับอ้างอิงมาตรฐานต่อไป

คำสำคัญ : อุบัติการณ์; แอมเฟตามีน; อิมมูโนโครมาโตกราฟฟี; เอนไซม์อิมมูโนเอสเส

 

Abstract

The aims of this research were to study the incidence of amphetamines (AMPH) abuse and evaluate the urine screening method by using rapid immunochromatography (IC). The retrospective data were collected form 5,174 urine samples during the year of 2010 to 2013 from attended at Thammasat University Hospital and dead persons of Forensic science institute, Pathum Thani Province. All samples were screened for AMPH by IC method. If the positive result was reported then it was confirmed by using enzyme immunoassay (EIA) method (VITROS® 5,1 FS automate analyzer). In this study, the results were demonstrated that incidence of AMPH in urine sample was 2.9 %. The percentage of positive results were 0.3, 2.1, 4.8 and 3.0 for Year 2010-2013, respectively. The results from EIA method were not related with gender, life survival status and age. The mean age of positive urine AMPH results was 27.0±10.5 years (95.0 % CI; 24.9-29.0 years). The highest incidence was revealed at age range from 31-35 years old. The sensitivity, specificity, PPV and NPV of IC method were 100.0, 78.1, 72.0 and 100.0 % when compared with EIA method. In conclusion, this study showed the increasing in urine AMPH positive 3.1 folds comparing to the last 2 years of study and the efficiency of IC method was 86.0 %. So further develop and validate of this method is needed in order to improve the efficiency and could be used as the standard method. 

Keywords: incidence; amphetamines; immunochromatography; enzyme immunoassay

Article Details

Section
Medical Sciences