ระยะเวลาเพาะเลี้ยงและความเข้มข้นของไคโตซานต่อปริมาณ Dioscorealide B ของยอดข้าวเย็นใต้ (Dioscorea membranacea Pierre ex Prain & Burkill) ในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

เยาวพา จิระเกียรติกุล
อรอุมา สองศรี
ภาณุมาศ ฤทธิไชย
ศรีโสภา เรืองหนู
อรุณพร อิฐรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

Dioscorealide B เป็นสารสำคัญที่สกัดได้จากข้าวเย็นใต้ (Dioscorea membranacea Pierre ex Prain & Burkill) ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งและเอดส์ ความเข้มข้นและระยะเวลาในการให้สารกระตุ้นมีบทบาทสำคัญต่อการกระตุ้นและสะสมสารสำคัญในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาเพาะเลี้ยงและความเข้มข้นของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตเมื่อเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ และปริมาณ dioscorealide B ของยอดข้าวเย็นใต้ โดยเพาะเลี้ยงข้อของข้าวเย็นใต้บนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 2 mg/l ร่วมกับไคโตซานที่ความเข้มข้น 0, 50 และ 100 mg/l เป็นเวลานาน 4, 6 และ 8 สัปดาห์ พบว่าไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของไคโตซานและระยะเวลาที่เพาะเลี้ยง ไคโตซานที่ความเข้มข้น 50 และ 100 mg/l ทำให้น้ำหนักสดและแห้งของยอดที่พัฒนาลดลง แต่ไม่มีผลต่อปริมาณ dioscorealide B อย่างมีนัยสำคัญ ยอดข้าวเย็นใต้มีปริมาณ dioscorealide B สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ [1.72 % (w/w)] เมื่อเพาะเลี้ยงนาน 8 สัปดาห์ 

คำสำคัญ : ข้าวเย็นใต้; dioscorealide B; ไคโตซาน; ระยะเวลาเพาะเลี้ยง; การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

 

Abstract

Dioscorealide B is the secondary metabolite isolated from Khao-Yen-Tai (Dioscorea membranacea Pierre ex Prain & Burkill), a medicinal plant, which used to treat cancer and AIDs. Concentrations and culture periods of elicitors play the important roles for stimulation and accumulation the secondary metabolites in plant tissue culture. Therefore, the objective of this study was to investigate the effects of culture periods and concentrations of chitosan on in vitro shoot growth and dioscorealide B content of Khao-Yen-Tai. Single nodal segments of Khao-Yen-Tai were cultured on MS medium supplemented with 2 mg/l BA in combination with 0, 50 and 100 mg/l chitosan for 4, 6 and 8 weeks. The results indicated that there was no interaction between chitosan concentrations and culture periods. The fresh and dry weight of shoots decreased when shoots were elicited with 50 and 100 mg/l chitosan but dioscorealide B content was not significantly different among chitosan concentrations. The highest dioscorealide B content of 1.72 % (w/w) occurred after cultured for 8 weeks. 

Keywords: Dioscorea membranacea;  dioscorealide B; chitosan; culture period; plant tissue culture

Article Details

Section
Biological Sciences