การใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดมูลหนอนนกเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว

Main Article Content

ปรัชวนี พิบำรุง

Abstract

บทคัดย่อ

การนำมูลหนอนนกมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดเพื่อใช้ในการผลิตข้าว วางแผนการทดลองแบบ randomized complete block design (RCBD) ประกอบด้วย 7 กรรมวิธี จำนวน 4 ซ้ำ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม 2557 ใช้ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ปลูกโดยวิธีนาหว่านน้ำตม อัตราเมล็ดพันธุ์ 25 กิโลกรัมต่อไร่ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดมูลหนอนนกจากวัสดุที่เป็นส่วนประกอบและใช้น้ำหมักชีวภาพผลไม้และน้ำหมักชีวภาพสมุนไพรจากผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ กรมพัฒนาที่ดิน (พด.) ใส่ปุ๋ยกรรมวิธีต่าง ๆ ประกอบด้วย T0 ไม่ใส่ปุ๋ย (control), T1 ปุ๋ยมูลหนอนนกอัดเม็ดสูตร 1, T2 ปุ๋ยมูลหนอนนกอัดเม็ดสูตร 2, T3 ปุ๋ยมูลหนอนนกอัดเม็ดสูตร 3, T4 ปุ๋ยมูลหนอนนกอัดเม็ดสูตร 4, T5 ปุ๋ยมูลหนอนนกอัดเม็ดสูตร 5, T6 ปุ๋ยมูลหนอนนกอัดเม็ดสูตร 6 ทุกกรรม วิธีที่ใส่ปุ๋ย ใช้อัตราปุ๋ยมูลหนอนนกอัดเม็ด 200 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการวิจัยพบว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์มูลหนอนนกอัดเม็ดทุกกรรมวิธีส่งผลต่อความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณไนโตรเจนรวม ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับกรรมวิธีที่ไม่ใส่ปุ๋ย โดยดินหลังการทดลองเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 6.07-6.15) ปริมาณอินทรียวัตถุในดินอยู่ในระดับสูง (4.09-4.22 %) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินระดับสูง (41.79-42.56 mg/kg) ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในระดับปานกลาง (65.79-81.03 mg/kg) การใส่ปุ๋ยอินทรีย์มูลหนอนนกอัดเม็ดทุกกรรมวิธีทำให้ต้นข้าวมีองค์ประกอบของผลผลิต และผลผลิตข้าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการใส่ปุ๋ยกรรมวิธีที่ 2 ทำให้ต้นข้าวมีจำนวนรวงเฉลี่ยสูงสุด (810.72 รวง/ตรม.) และให้น้ำหนักร้อยเมล็ดเฉลี่ยสูงสุด (2.70 ก.) รวมทั้งให้จำนวนเมล็ดดีเฉลี่ยสูงสุดและเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบเฉลี่ยต่ำสุด (46.00 เมล็ด/รวง และ 24.24 % ตามลำดับ) โดยการใส่ปุ๋ยกรรมวิธีที่ 2 (ปุ๋ยอินทรีย์มูลหนอนนกอัดเม็ดสูตร 2) ให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยสูงสุด (712.74 กก./ไร่) กรรมวิธีที่ไม่ใส่ปุ๋ยให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยต่ำสุด (318.18 กก./ไร่) เนื่องจากมีจำนวนรวงเฉลี่ย จำนวนเมล็ดดีเฉลี่ย และน้ำหนัก 100 เมล็ดเฉลี่ยต่ำสุด (598.75 รวง/ตรม. 36.17 เมล็ด และ 2.43 ก. ตามลำดับ) แต่มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบสูงสุด (31.78 %) 

คำสำคัญ : ข้าว; มูลหนอนนก; ปุ๋ยอินทรีย์

 

Abstract

This study was undertaken to determine the effect of organic fertilizer pellet produced from mealworm waste on seed yield components and seed yield of Pathum Thani 1 rice variety. The experiment was conducted in a randomized complete block design with seven fertilizer treatments and four replications in the paddy field in Chai Nat Province. The experiment had been performed between January and May, 2014. The seven fertilizer treatments were: T0 was no fertilizer (control), T1 was organic fertilizer pellet formular 1, T2 was organic fertilizer pellet formular 2, T3 was organic fertilizer pellet formular 3, T4 was organic fertilizer pellet formular 4, T5 was organic fertilizer pellet formular 5 and T6 was organic fertilizer pellet formular 6. Each of fertilizer pellet formulae was applied for 200 kg/rai. The results revealed that the soils with organic fertilizer treatments were significantly different from that with no fertilizer treatment (P<0.01) in terms of soil pH, soil organic matter, total nitrogen, available phosphorus and potassium. The organic-fertilizer treated soil samples showed moderate to weak acidity (pH 6.07-6.15), high organic matter (4.09-4.22 %), high available phosphorus (41.79-42.56 mg/kg) and potassium (65.79-81.03 mg/kg). The results revealed that there were statistically significant differences in seed yield components and seed yields of Pathum Thani 1 rice variety among the treatments. The highest number of panicles per square meter (810.72 panicles/m2), highest one hundred seed weight (2.70 g) and highest total seed yield (712.74 kg/rai) were obtained in T2 while such lowest characters (598.75 panicles/m2, 2.43 g and 318.18 kg/rai) with highest aborted seed percentage (31.78 %) were shown in T0. 

Keywords: rice; mealworm faces; organic fertilizer

Article Details

Section
Biological Sciences