อิทธิพลของการเสริมใบมะรุมผงในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและไขมันในพลาสมาของไก่กระทง
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการเสริมใบมะรุมผงในอาหารต่อสมรรถนะการผลิต คุณภาพซาก และไขมันในพลาสมาของไก่กระทง ซึ่งวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วยอาหารทดลอง 4 สูตร คือ สูตรอาหารควบคุม (ไม่เสริมใบมะรุมผง) และอาหารที่เสริมด้วยใบมะรุมผงที่ระดับ 2, 4 และ 6 % ตามลำดับ โดยทดลองในไก่กระทงอายุ 21 วัน จำนวน 180 ตัว โดยสุ่มไก่ออกมาเป็นกลุ่มกลุ่มละ 9 ตัว จำนวน 20 กลุ่ม อาหารแต่ละสูตรจะให้แต่ละกลุ่มเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งอาหารทุกสูตรมีโปรตีนและพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ใกล้เคียงกัน จากการศึกษาผลของการเสริมใบมะรุมผงในอาหารไก่กระทง พบว่าการเสริมใบมะรุมผงที่ระดับ 0, 2, 4 และ 6 % ทำให้สมรรถนะการผลิต และคุณภาพซากมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่การเสริมใบมะรุมผงที่ระดับ 2, 4 และ 6 % ทำให้ปริมาณไขมันในช่องท้องลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (P<0.05) โดยพบว่าการเสริมใบมะรุมผงที่ระดับ 6 % ทำให้ปริมาณไขมันในช้องท้องลดลงได้ถึง 53 % เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ การเสริมใบมะรุมผงที่ระดับ 4 และ 6 % ทำให้ปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดและ low density lipoprotein (LDL) ในเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) สรุปได้ว่าใบมะรุมสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ เนื่องจากมีปริมาณโปรตีนและพลังงานที่สูง รวมทั้งไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของไก่ ยิ่งไปกว่านั้นใบมะรุมสามารถลดการสะสมไขมันและลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด
คำสำคัญ : ไก่กระทง; ใบมะรุม; สมรรถภพการผลิต; ไขมันในพลาสมา
Abstract
The experiment was conducted to study the effect of dietary supplementation of Moringa oleifera leaf powder on production performance and plasma lipid in broilers. This experiment was designed as completely randomized design (CRD). The experimental diets were a control diet (no Moringa oleifera leaf powder) and diets supplemented with Moringa oleifera leaf powder at 2, 4 and 6 %, respectively. One hundred and eighty broilers at 21 days of age were devided into 4 treatments, each with 5 groups (9 birds per group). Each group was randomed to each treatment for 4 weeks. All diets were isonitrogenous and isocaloric. The results of Moringa oleifera leaf powder supplementation in broiler diets demonstrated that production performance and carcass quality were not significantly different among treatments (P>0.05). However, abdominal fat pad was found to decrease in birds consumed the diets supplemented with Moringa oleifera leaf powder at 2, 4 and 6 % when compared to the control diet (P<0.05). Abdominal fat pad was significantly decreased at 6 % of Moringa oleifera leaf powder supplementation groups when compared to the control group. In addition, at 4 and 6 % of dietary supplementation with Moringa oleifera leaf powder showed lower blood cholesterol and low density lipoprotein (LDL) than the control (P<0.05). In conclusion, Moringa oleifera leaves can be used as a feedstuff, due to the high content of protein and energy and no adverse effect to health and growth of broilers. Moreover, dietary supplementation of Moringa oleifera leaf powder decreased abdominal fat pad and blood cholesterol in broiler chickens.
Keywords: broiler; Moringa oleifera leaf; production performances; plasma lipid