การประยุกต์ใช้โปรแกรมกูเกิลเอิร์ทเพื่อการเฝ้าระวังภัยพิบัติ : กรณีตัวอย่างน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ปี พ.ศ. 2554

Main Article Content

จุฑาศินี ธัญปราณีตกุล
รัชพล สัมพุทธานนท์
พรชัย ตระกูลวรานนท์

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้สาธิตการใช้โปรแกรมกูเกิลเอิร์ท (Google Earth) ร่วมกับโปรแกรมทางภูมิสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังภัยพิบัติ โดยยกตัวอย่างกรณีน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมศูนย์กลางขนาดใหญ่ภายใต้การดูแลกำกับของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และได้ประสบภัยพิบัติมหาอุกทกภัยปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา ทั้งนี้บทความได้นำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ผ่านโปรแกรมกูเกิลเอิร์ท ซึ่งเป็นซอฟแวร์ฟรี (freeware) ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ปราศจากค่าใช้จ่ายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลแผนที่ก่อนเกิดภัยพิบัติ ระหว่างเกิดภัยพิบัติ และภายหลังการเกิดภัยพิบัติ เพื่อใช้ประสานงานระหว่างหน่วยงานให้พร้อมต่อการปฏิบัติงานในระยะต่าง ๆ ของการเกิดภัยพิบัติ สำหรับการนำเสนอข้อมูลแผนที่ก่อนเกิดภัยพิบัตินั้น ได้นำเสนอแผนที่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุทกภัย แผนที่การจราจร ประตูทางเข้า-ออกนิคมอุตสาหกรรม แผนที่ตั้งศูนย์อพยพ จุดรวมพล และโรงพยาบาล ที่ตั้งเขื่อนดินรอบนิคมอุตสาหกรรม สถานีสูบน้ำ และจุดเฝ้าระวังต่าง ๆ รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญภายในนิคมอุตสาหกรรม ส่วนแผนที่ระหว่างการเกิดภัยพิบัติได้แสดงข้อมูลแผนที่เส้นทางการอพยพที่ใกล้ที่สุด (shortest route) แผนที่ตั้งศูนย์อำนวยการฉุกเฉิน ตำแหน่งจุดเกิดอุทกภัย สำหรับข้อมูลภายหลังการเกิดภัยพิบัติได้แสดงข้อมูลแผนที่ของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและรูปภาพต่าง ๆ เพื่อส่งงบพัฒนาหรือเงินทดรองราชการอย่างเหมาะสม โดยโปรแกรมกูเกิลเอิร์ทนี้ยังสามารถเพิ่มเติมข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นอีกได้ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธิตโปรแกรมกูเกิลเอิร์ทเพื่อการเฝ้าระวังภัยพิบัติชนิดต่าง ๆ ที่ในปัจจุบันนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในเรื่องของความถี่ในการเกิดและระดับความรุนแรง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดทำและเตรียมฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถใช้ในการมองภาพรวมได้ ในมิติของความเป็นพลวัตร (dynamic) ทั้งเชิงเวลาและเชิงพื้นที่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และใช้งานโปรแกรมกูเกิลเอิร์ทในการวางแผน ป้องกัน เตือนภัย และแก้ไขปัญหาได้อย่างครบระบบต่อไป 

คำสำคัญ : โปรแกรมกูเกิลเอิร์ท; ภัยพิบัติ; อุทกภัย; การวิเคราะห์โครงข่าย; นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง

 

Abstract

This article presents the application of Google Earth software for disaster monitoring. A case example is Lad Krabang industrial estates, which is a large industrial center hub operated by the Industrial Estate Authority of Thailand (IEAT), and affected by severe flood in 2011. This article presents spatial data through Google Earth, which is a freeware that can be accessed easily via the internet. The spatial data include pre-disaster, during-disaster, and post-disaster maps which prepare for coordination among related agencies in various phases of the disaster. The pre-disaster maps show flood risk area, roads, industrial estate exits, factory main entrances, evacuated shelters, hospitals, retaining walls, pumping and gauging stations, surveillance points, and industrial infrastructure. The during-disaster maps present the shortest evacuation route from factory to industrial estate exits and emergency operation center location. The post-disaster maps show a map of flooded locations, area, and pictures, which use for recovery planning and compensation. However, the Google Earth can be added more important information. Therefore, this article aims to demonstrate the Google Earth applications to monitor disasters that are likely to increase in terms of frequency of occurrence and severity. It is necessary to prepare database, which can be presented perspective in dimension of dynamic in both time and space, for systematically planning, protection, decision supports, and warning systems. 

Keywords: Google Earth program; disaster; flood, network analysis; Lad Krabang Industrial Estate

Article Details

Section
Physical Sciences