การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยพะเยา

Main Article Content

บุญศิริ สุขพร้อมสรรพ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นการศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตของชุมชนและวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่สำหรับการขยายตัวของชุมชนเมืองโดยรอบมหาวิทยาลัยพะเยา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินของชุมชนเมืองโดยรอบมหาวิทยาลัยพะเยา โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาของพื้นที่ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประมวลผลค่าน้ำหนักแก่ปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ได้ผลการวิเคราะห์ถูกต้องยิ่งขึ้น จากการวิเคราะห์รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยพะเยาในช่วงปี พ.ศ. 2534-2555 พบว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทสิ่งปลูกสร้าง เช่น ที่พักอาศัย หอพัก และอาคารพาณิชย์ มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจาก 3.55 ตารางกิโลเมตร เป็น 11.66 ตารางกิโลเมตร ในขณะที่การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทป่าไม้รอบ ๆ ชุมชนเมือง มีการเปลี่ยนแปลงลดลงจาก 82.60 ตารางกิโลเมตร เป็น 66.99 ตารางกิโลเมตร ส่วนผลการศึกษาการวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาพื้นที่โดยใช้ปัจจัยด้านกายภาพ ด้านส่งเสริมความเป็นเมือง และด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าพื้นที่ที่มีศักยภาพต่อการขยายตัวของชุมชนมากที่สุดคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 17.47 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งอยู่บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยใกล้กับเส้นทางคมนาคมสายหลัก ส่วนพื้นที่ที่มีศักยภาพระดับปานกลางนั้นคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 40.02 ปรากฏอยู่ในบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ที่มีศักยภาพต่อการขยายตัวของชุมชนน้อยที่สุดคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 42.51 ของพื้นที่ทั้งหมด จะอยู่บริเวณพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง นอกจากนี้ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนสำหรับการขยายตัวของพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยในอนาคต

คำสำคัญ : การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่; การขยายตัวของชุมชน; มหาวิทยาลัยพะเยา

 

Abstract

Potential surface analysis for urban expansion around University of Phayao emphasized on urban growth and potential surface for urban expansion around University of Phayao as well as provided the guidelines for land use plan. Geographic information system (GIS) was applied to potential surface analysis (PSA) for analyzing the suitable weight of parameters. Then, PSA was approved quickly with high accuracy. The prominent results of land use patterns around University of Phayao from the year 1991-2012 revealed that the buildup areas such as housings, dormitories and business buildings dramatically increased from 3.55 square kilometers to 11.66 square kilometers. Meanwhile, the forest areas highly reduced from 82.60 square kilometers to 66.99 square kilometers. In addition, the results from potential surface analysis (PSA) with physical factors, promoting urban area factors and environmental factors illustrated that the high suitability for urban expansion was 17.47 percent of total suitable area which located in front of University of Phayao and along the main road. The modulate area suitability was 40.02 percent of total suitable area. It was in the agricultural area. The low score suitable area was 42.51 percent of total suitable area, covering most forest and high slope area. The finding of this study could be suggested for land use guidelines in achieving the sustainable development of urban expansion around University of Phayao in the near future. 

Keywords: potential surface analysis; urban expansion; University of Phayao

Article Details

Section
Physical Sciences