การพัฒนาของดอกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในดอกพระจันทร์ (Ipomoea alba L.)

Main Article Content

ภาณุมาศ ฤทธิไชย
ปิยาภัทร์ เข็มวิชัย
เยาวพา จิระเกียรติกุล
นภาพร ยังวิเศษ

Abstract

บทคัดย่อ

ดอกพระจันทร์ (Ipomoea alba L.) เป็นพืชผักรับประทานดอกตูมที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ดอกขนาดเล็กจนถึงก่อนดอกบาน ในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของดอกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในดอกพระจันทร์ พัฒนาการของดอกมีการศึกษาทุกเดือนในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน พ.ศ. 2557 โดยผูกดอกตูมความยาว 1 เซนติเมตร เก็บเกี่ยวดอกตูมทุกวันจนถึงวันดอกบาน พบว่าดอกตูมมีพัฒนาการจนถึงดอกบานนานที่สุด 17 วัน ในเดือนมีนาคมและเมษายน รองลงมา คือ 16 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ และสั้นที่สุด 15 วัน ในเดือนมกราคม ดอกตูมมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ในช่วงอายุ 1 ถึง 9 วัน หลังเกิดตาดอก หลังจากนั้นความยาวและน้ำหนักสดของดอกตูมจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดอกตูมมีความยาวและน้ำหนักสดสูงสุด ในช่วงกลางวันของวันที่ดอกจะบาน โดยกลีบดอกจะเริ่มบานในเย็นวันนั้น ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป และหุบในเช้าวันถัดมา การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในดอกตูม ความยาว 6, 8, 10, 12 และ 14 เซนติเมตร เก็บเกี่ยวในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน พ.ศ. 2557 พบว่าดอกขนาด 12 และ 14 เซนติเมตร มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH สูงสุดในทั้งสี่เดือนที่เก็บเกี่ยว

คำสำคัญ : ดอกพระจันทร์; ดอกตูม; ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ; สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด

 

Abstract

The young flower buds of moonflower (Ipomoea alba L.) are consumed as vegetable which are capable to harvest from small sizes till prior to anthesis. The objective of this study was to examine flower development and antioxidant accumulation in moonflower. Flower development was carried out monthly during January to April 2014 as the 1 cm in length of flower buds were tagged and harvested daily until anthesis. Flower bud development exhibited the longest time as 17 days in March and April, followed by 16 days in February and the shortest time as 15 days in January. Growth of flower buds slightly increased during 1 to 9 days after budding, thereafter length and fresh weight of flower buds dramatically increased. The longest length and the highest fresh weight of flower buds occurred during daytime on the day of anthesis then corolla started to open in the evening from 5 pm. and closed in the next morning. Antioxdant capacity of the 6, 8, 10, 12 and 14 cm in length of flower buds harvested in January, February, March and April 2014 was determined. The 12 and 14 cm in length of flower buds harvested at those four months exhibited the highest total phenolic content and strongest DPPH-based antioxidant capacity.

Keywords: moonflower; flower bud; antioxidant capacity; total phenolic content

Article Details

Section
Biological Sciences