ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลของนักศึกษาสาขาวิชา

Main Article Content

ระชานนท์ ทวีผล
ประสพชัย พสุนนท์

Abstract

บทคัดย่อ

กาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน และความวิตกกังวลของ นักศึกษา และ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลของนักศึกษา โดยเก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 363 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และกาวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความวิตกกังวลจากปัจจัยภายนอกโดยรวม เมื่อจำแนกรายด้านพบว่าด้านการบริหารหลักสูตรอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านผู้สอน ด้านการเรียนการสอน และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนของระดับความวิตกกังวลจากปัจจัยภายในโดยรวมอยู่ในระดับระดับปานกลาง เมื่อมีการจำแนกรายด้านพบว่าด้านภาระหน้าที่ของผู้เรียนและด้านเจตคติของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านการประวัติภูมิหลังของผู้เรียนและด้านแรงจูงใจของผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับระดับความวิตกกังวลอยู่ในระดับมาก และ (2) ตัวแปรอิสระจำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ ด้านบริหารหลักสูตร ด้านประวัติภูมิหลัง และด้านเจตคติ ส่งผลต่อความวิตกกังวลของนักศึกษา

คำสำคัญ : ปัจจัยภายนอก;  ปัจจัยภายใน; ความวิตกกังวล

 

Abstract

The objectives of this research aimed to (1) study the levels of internal and external factors affecting the anxiety of students majoring in Hotel Management, Faculty of Management Science, Silpakorn University and (2) study factors affecting the students’ anxiety. A sample of 363 students was studied. Statistics for data analysis was the percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient and multiple regression analysis. The result showed that the first external factor is the anxiety regarding the curriculum administration which is in the high level. The second factor is the anxiety regarding the instructors, followed by the teaching method and the facilities and environment, respectively which are in the medium level.  For internal factors, students have the greatest anxiety about their responsibilities and attitudes towards studying. The students’ anxiety about their background and motivation are in the medium level. Overall, the anxiety of students is in the high level. Moreover, there are 3 independent variables shown in the study including the curriculum administration, students’ background and students’ attitude that affect the anxiety of the students. 

Keywords: external factor; internal factor; anxiety

Article Details

Section
Physical Sciences