การทดสอบผลผลิตพันธุ์ข้าวไร่ในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่จริม จังหวัดน่าน

Main Article Content

พิชัย สุรพรไพบูลย์
พิกุล สุรพรไพบูลย์
สุนทร มีพอ
สริตา ปิ่นมณี

Abstract

บทคัดย่อ

การทดสอบผลผลิตพันธุ์ข้าวไร่ในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่จริม ตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เพื่อหาที่พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่จริม วางแผนการทดลองแบบสุ่มภายในบล็อกสมบูรณ์ (randomized complete block design) ทำ 4 ซ้ำ โดยใช้พันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองจำนวน 19 พันธุ์ ปลูกทดสอบเปรียบเทียบกับพันธุ์ลีซอ ซึ่งเป็นพันธุ์รับรองจากกรมวิชาการเกษตร ผลการทดลองพบว่าพันธุ์ข้าวไร่ส่วนใหญ่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากพันธุ์ลีซอซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) เมื่อปลูกในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่จริม มีเพียงพันธุ์ข้าวเกษตร พันธุ์ข้าวแม่แจ่ และพันธุ์ข้าวดำน้ำพันเท่านั้น ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์ลีซออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยทั้ง 3 พันธุ์ ให้ผลผลิต 408.00, 390.00 และ 352.00 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ในขณะที่พันธุ์ลีซอซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบให้ผลผลิต 584.00 กิโลกรัมต่อไร่ และในกลุ่มพันธุ์ข้าวไร่ที่ให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากพันธุ์ลีซอนี้ พันธุ์ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ข้าวเกษตร พันธุ์ข้าวแม่แจ่ และพันธุ์ข้าวดำน้ำพัน คือ พันธุ์ลีซอและพันธุ์ข้าวตรัย (p < 0.05) ซึ่งทั้ง 2 พันธุ์ ให้ผลผลิต 584 กิโลกรัมต่อไร่ 

คำสำคัญ : การทดสอบผลผลิต; ข้าวไร่; โครงการหลวง; น่าน

 

Abstract

Yield trial of upland rice was studied in the Expansion Royal Project Area namely Mae Charim at Mae Charim subdistrict, Mae Charim district, Nan province. This study aimed for rice varietal selection for high yield and adaptability in the environment of Mae Charim area. Nineteen local upland rice varieties were planted with Lee Saw, a certificated variety from Department of Agriculture during June and October 2014 growing season. Randomized complete block design (RCBD) was laid out with 4 replications. The results showed that the yields of most varieties were not significant difference from Lee Saw, except Khoa Kaset, Mae Jae and Khoa Dum Num Pan which gave exactly lower yield than Lee Saw. These 3 varieties gave yield of 408.00, 390.00 and 352.00 kilograms per rai, respectively while the check variety, Lee Saw gave the yield of 584 kilograms per rai. In the group of upland rice varieties which the yields were not significant difference from Lee Saw; Lee Saw and Khoa Trai showed higher yield than the other varieties when were compared with Khoa Kaset, Mae Jae and Khoa Dum Num Pan. They gave the same yield of 584 kilograms per rai. This study indicated that they performed the high yield potential for Mae Charim area. 

Keywords: yield trial; upland rice; royal project; Nan

Article Details

Section
Biological Sciences