การใช้วัสดุรองพื้นเพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพไก่ชนที่เลี้ยงในสุ่มไม้ไผ่

Main Article Content

พิพัฒน์ สมภาร
พรชัย อิ่มกะดี

Abstract

บทคัดย่อ

บ่อยครั้งที่การกักขังจำกัดความสามารถในการแสดงพฤติกรรมธรรมชาติของสัตว์ การถูกจำกัดมิให้แสดงพฤติกรรมส่งผลในทางลบต่อสวัสดิภาพของสัตว์และยังเป็นต้นเหตุของความเบื่อหน่าย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของวัสดุรองพื้นชนิดต่าง ๆ ต่อพฤติกรรมของไก่ชน สุ่มไก่ชนเพศผู้เต็มวัย จำนวน 4 ตัว ให้ได้รับ ทรีทเมนต์ 4 ทรีทเมนต์ใน 4 ช่วงเวลา ตามแผนการทดลองแบบ 4x4 จัตุรัสละติน ในแต่ละช่วงไก่ชนจะถูกเลี้ยงไว้ในสุ่มไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 140 เซนติเมตร สูง 120 เซนติเมตร ซึ่งมีคอนไม้อยู่ภายใน เป็นระยะเวลา 14 วัน ทรีทเมนต์วัสดุรองพื้นประกอบด้วย (1) ไม่มีวัสดุรองพื้น (2) ขี้เถ้าแกลบ (3) ขี้กบ และ (4) ทราย บันทึกพฤติกรรมไก่ชนโดยนักสังเกตที่ได้รับการฝึกฝน ระหว่างเวลา 07:00-18:00 น. ด้วยวิธีสุ่มสังเกตแบบมองกวาดและสุ่มสังเกตเฉพาะพฤติกรรม ผลการศึกษาพบว่าไก่ชนที่เลี้ยงบนวัสดุรองพื้นมีแนวโน้มใช้เวลาหาอาหารนานกว่า (p=0.06) ไก่ชนที่เลี้ยงบนพื้นที่ไม่มีวัสดุรองพื้น นอกจากนี้ยังพบว่าไก่ชนที่เลี้ยงบนพื้นที่ไม่มีวัสดุรองพื้นใช้เวลาในการไซร้ขนนานกว่า (p<0.05) บนพื้นที่มีวัสดุรองพื้น ระยะเวลาที่ใช้ในการค้นหาอาหารและอาบฝุ่นบนวัสดุรองพื้นชนิดต่าง ๆ และพฤติกรรมเกาะคอนไม่แตกต่างกันทางสถิติ การอาบฝุ่นเกิดขึ้นสูงสุดในช่วงเวลา 12:00-13:00 น. โดยใช้เวลาเฉลี่ย 18 นาทีต่อครั้ง สำหรับการเกาะคอนในเวลากลางวันพบในไก่ชนทุกตัว โดยใช้เวลาเฉลี่ย 12 นาทีต่อครั้ง จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตภายในสุ่มไก่โดยใช้วัสดุรองพื้นช่วยให้สวัสดิภาพของไก่ชนดีขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนและระยะเวลาในการแสดงพฤติกรรมธรรมชาติ 

คำสำคัญ : ไก่ชน; สุ่มไม้ไผ่; วัสดุรองพื้น; พฤติกรรม; สวัสดิภาพสัตว์

 

Abstract

Captivity often restricts the abilities of animals to perform natural behaviour. Behavioural restriction harms welfare and causing boredom. This study was conducted to investigate the effects of alternative litter materials on behaviours of fighting cocks. Four mature fighting cocks were subjected to four treatments during four periods in a 4x4 Latin square designed experiment. During each period, each cock was kept in a 140 cm diameter, 120 cm height, bamboo coops with wood perch, over a period of 14 consecutive days. There were four litter treatments included: (1) no litter, (2) rice hull ash, (3) wood shaving and (4) sand. The behaviour of cocks was individually recorded using scan and behaviour sampling methods by a trained observer between 7.00am. and 6.00pm. Results showed fighting cocks reared on litter tended to spend more time foraging (p=0.06) compared to cocks reared on floor (no litter). The time spent preening was also higher in cocks reared on no litter. The amount of foraging and dust-bathing on litter materials and daytime perching were not significantly different from each other. Dust-bathing behaviour showed a marked peak around mid-day from 12.00am. h to 1.00pm., and on average birds performed one 18 min bout. Daytime perching was performed in all cocks which averaged 12 min per bout. These results indicate that enrichment of fighting cock coops by provision of litter materials resulted in better welfare by increasing the number and range of natural behaviours. 

Keywords: fighting cocks; bamboo coop; litter; behavior; animal welfare 

Article Details

Section
Biological Sciences