การขยายพันธุ์โมกมัน [Wrightia arborea (Dennst.) Mabb.] ในหลอดทดลอง

Main Article Content

กรณ์ กรภัทร์ชัยกุล
ลัดดาวัลย์ รักษ์ธรรม

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขยายพันธุ์โมกมัน [Wrightia arborea (Dennst.) Mabb.] ในหลอดทดลอง โดยเริ่มจากการเพาะเลี้ยงเมล็ดจากผลแก่บนอาหารวุ้นสูตร MS (Murashige and Skoog, 1962) ที่เติม BAP (6 benzyl aminopurine) และ 2,4-D (2,4-dichlorophenoxy acetic acid) ความเข้มข้นต่าง ๆ (0, 0.5, 1.5, 2.5 และ 3.5 มก/ล) ผลปรากฏว่าอาหารทุกสูตรชักนำให้เมล็ดงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าได้และเกิดแคลลัสที่มีสีและขนาดแตกต่างกัน โดยอาหารที่ไม่เติม BAP หรือ 2,4-D เกิดแคลลัสขนาดเล็กที่สุด ส่วนอาหารที่เติม 2,4-D ความเข้มข้น 3.5 มก/ล แคลลัสมีขนาดใหญ่ที่สุด ส่วนของลำต้นเจริญเติบโตได้ดีที่สุดบนอาหารที่ไม่เติม BAP และ 2,4-D อาหารที่เติม BAP หรือ 2,4-D สูงมีแนวโน้มทำให้เกิดยอดลดลงและกระตุ้นการเกิดแคลลัส ยอดของต้นกล้าสามารถเพิ่มจำนวนได้มากมายบนอาหารวุ้นที่เติม BAP ความเข้มข้นต่าง ๆ การวางยอดแนวตั้งในอาหารที่มี BAP 5.0 มก/ล ชักนำให้เกิดยอดเฉลี่ยสูงสุด (7.40 ยอด) เมื่อตัดยอดที่มีความยาว 2-7 เซนติเมตร ไปจุ่มแช่ด้านรอยตัดในสารละลาย NAA (a-napthalene acetic acid) ความเข้มข้น 1.0 มก/ล เป็นเวลา 0, 1, 3, 5 และ 7 นาที แล้วย้ายไปเลี้ยงในอาหารวุ้นสูตร MS พบว่าทำให้เกิดรากได้ดี ต้นที่ผ่านการอนุบาลเจริญเติบโตได้ดีและสามารถย้ายปลูกได้สำเร็จ 

คำสำคัญ : โมกมัน; การขยายพันธุ์; ในหลอดทดลอง

 

Abstract

This research aims to study in vitro clonal propagation of Ivory [Wrightia arborea (Dennst.) Mabb.]. Mature seeds were dissected from green fruits and cultured on MS (Murashige and Skoog, 1962) agar medium containing different concentrations of BAP (6 benzyl aminopurine) and 2,4-D (2,4-dichlorophenoxy acetic acid). It was found that various sizes and colors of calluses were observed in all the media containing BAP or 2,4-D. The control group displayed smallest callus and largest callus was fortified by the medium contains 3.5 mg/l 2,4-D. Best of shoots growth were archived on the MS medium lacking BAP and 2,4-D. High concentrations of BAP or 2,4-D tended to decrease growth of seedlings and promoted callogenesis. Shoot buds derived seedlings were successful multiplication on the MS agar medium containing BAP. Vertical orientation of explants showed superior multiplication than horizontal orientation. Maximum mean shoot number was raised on the medium fortified with 5.0 mg/l BAP (7.40 shoots). The excised shoots were rooted well after submerging the cut end portion into NAA (a-naphthalene acetic acid) aseptic solution for 1-7 min and followed by culturing in the MS agar basal medium for 4 weeks. Rooted shoots were obtained and then transplantation was successful. 

Keywords: Ivory; propagation; in vitro 

Article Details

Section
Biological Sciences