การวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีและสารต้านอนุมูลอิสระของข้าวพื้นเมืองในหมู่บ้านทิพุเย อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ปิ่นธิดา ณ ไธสง
สุวิมล กะตากูล
จินดารัตน์ โตกมลธรรม
ณัฐณิชา ทวีแสง

Abstract

บทคัดย่อ

การลงพื้นที่เพื่อสำรวจความหลายหลายของพันธุ์ข้าวที่ปลูกในพื้นที่บ้านทิพุเย อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้ได้รับตัวอย่างข้าวจากอาสาสมัครของหมู่บ้าน 4 ครัวเรือน จำนวน 11 ตัวอย่าง มีดังนี้ บือเหน่อเม่อ (ข้าวหอม) บืออ่องเจ่อ บือโว (ข้าวแดง) บือพองอั่ว ข้าวคูมัว บือกี้ก่าย (ข้าวหมีลาย) บือม้ง ไอ่ค๊อกเพ่ บือพือท่อง (ข้าวหมี) ข้าวเหลือง และอิเว่อหว่อง ซึ่งข้าวทั้ง 11 ตัวอย่าง มีองค์ประกอบทางเคมีโดยประมาณดังนี้ ปริมาณความชื้น 10.30-12.29 % ปริมาณเถ้า 0.76-1.26 % ปริมาณโปรตีน 0.68-7.86 % ปริมาณไขมัน 2.16-3.87 % และปริมาณคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 75.45-83.77 % ผลการศึกษาสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant, DPPH-radical scavenging activity assay) พบว่าตัวอย่างข้าวพื้นเมืองมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยค่า EC50 อยู่ในช่วง 0.0313 ถึง 0.0633 mg/ml โดยข้าวบือเหน่อเม่อมีฤทธิ์ดีที่สุด ปริมาณของสารประกอบฟินอลิกทั้งหมดโดยวิธี Folin-Ciocalteu method พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยจากการวิเคราะห์พบว่าตัวอย่างข้าวมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกอยู่ในช่วง 39.35 ถึง 219.35 GAE µg/g sample โดยข้าวที่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุด คือ บือม้ง 

คำสำคัญ : ข้าวพื้นเมือง; องค์ประกอบทางเคมี; สารต้านอนุมูลอิสระ; ปริมาณฟินอลิกทั้งหมด

 

Abstract

This fieldwork study was conducted to survey the diversity of rice varieties grown in Thiphuye Village, Thong Pha Phum district, Kanchanaburi province. The rice samples were given by 4 families of the village volunteers. The 11 varieties of rice were comprised of Bue Noe Moe (Khao Hom), Bue Ong Choe, Bue Wo (Khao Daeng), Bue Phong Ua, Khao Khumua, Bue Ki Kai (Khao Milai), Bue Mong, Ai Khok Phe, Bue Phue Thong (Khaomi), Khao Lueang and I Woe Wong. The proximate composition of all 11 rice varieties was as follows: 10.30-12.29 % of moisture, 0.76-1.26 % of ash, 0.68-7.86 % of crude protein, 2.16-3.87 % of crude fat, and 75.45-83.77 % of carbohydrate. The determination of antioxidant activity (DPPH-radical scavenging activity assay) showed that EC50 values were in the range of 0.0313-0.0633 mg/ml. Bue Noe Moe (Khao Hom) had the most potent activity with the EC50 value of 0.0313 mg/ml. The total phenolic contents in 11 rice varieties using Folin-Ciocalteu method were significantly different. According to the analysis, the total phenolic contents were in the range of 39.35-219.35 µg GAE/g sample, and the highest phenolic content was found in Bue Mong. 

Keywords: native rice; proximate composition; antioxidant activity; total phenolic content

Article Details

Section
Biological Sciences