องค์ประกอบบรรยากาศความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขาง เพื่อศึกษาองค์ประกอบของบรรยากาศความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหาร จังหวัดสงขลา ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในสายการผลิต รวมทั้งสิ้น 1,014 คน เก็บตัวอย่างด้วยวิธีการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามบรรยากาศความปลอดภัยในการทำงานของ Nordic (NOSACQ-50) ฉบับภาษาไทย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์โครงสร้างองค์ประกอบ (exploratory factor analysis) พบว่าบรรยากาศความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหารมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) องค์ประกอบด้านความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยของฝ่ายบริหารและลูกจ้าง (2) องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม การเสริมพลังและความยุติธรรมด้านความปลอดภัย (3) องค์ประกอบด้านการรับรู้และการจัดการความเสี่ยงของลูกจ้าง (4) องค์ประกอบด้านการจัดกิจกรรมด้านความปลอดภัย (5) องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ การสื่อสารและความไว้วางใจในการทำงาน โดยคะแนนเฉลี่ยบรรยากาศความปลอดภัยของหัวหน้างานสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยบรรยากาศความปลอดภัยของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตำแหน่งงานและผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานแตกต่างกันส่งผลให้ พบว่าคะแนนเฉลี่ยบรรยากาศความปลอดภัยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษา องค์ประกอบของบรรยากาศความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหารมี 5 องค์ประกอบ ตำแหน่งงานและประสบการณ์ทำงานมีผลต่อการรับรู้บรรยากาศความปลอดภัยในการทำงาน
คำสำคัญ : การวิเคราะห์องค์ประกอบ; บรรยากาศความปลอดภัย; ระบบการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
Article Details
References
[2] Eeckelaert, L., Starren, A., Scheppingen, A.V., Fox, D. and Brück, C., 2011, Occupational Safety and Health Culture Assessment: A Review of Main Approaches and Selected Tools, European Agency for Safety and Health at Work (EU-OSHA), Luxembourg.
[3] Kines, P., Lappalainen, J., Mikkelsen, K.L., Olsen, E., Pousette, A. and Tharaldsen, J., 2011, Nordic safety climate questionnaire (NOSACQ-50): A new tool for diagnosing occupational safety climate, Int. J. Ind. Ergon. 41: 634-646.
[4] สำนักงานกองทุนเงินทดแทน กระทรวงแรงงาน, สถิติการประสบอันตรายจากการทำงานในข่ายกองทุนเงินทดแทน, แหล่งที่มา : http://www. sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=801, 10 มิถุนายน 2558.
[5] สภาอุตสาหกรรมจังหวัด, 2558, แหล่งที่มา : http://www.ftiprovince.or.th/province/province.aspx?id=59& data=3, 10 มกราคม 2558.
[6] ฐิติวร ชูสง และธนิษฐา ศิริรักษ์, 2559, คู่มือการใช้แบบวัดบรรยากาศความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงานของ NORDIC ฉบับภาษาไทย (NOSACQ-50-THAI), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
[7] ปวีณา กวีกิจธรรมกุล, 2553, ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยในงานก่อสร้าง, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[8] สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2554, มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 18001 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย : ข้อกำหนด, สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ.
[9] Seo, D.C., Torabi, M.R., Blair, E.H. and Ellis, N.T., 2004, A cross-validation of safety climate scale using confirmatory factor analytic approach, J. Safety Res. 35: 427-445.
[10] Ghahramani, A. and Khalkhali, H.R., 2015, Development and validation of a safety climate scale for manufacturing industry, Saf. Health Work 6(2): 97-103.
[11] Zohor, D., 1980, Safety climate in industrial organizations: Theoretical and applied implications, J. Appl. Psychol. 65(1): 96-102.
[12] รัฐนนท์ ปานสมุทร์, 2557, ปัจจัยที่ส่งผลต่อบรรยากาศความปลอดภัยในงานก่อสร้างอาคาร, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[13] ชุติมา พันละม้าย, 2550, พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพนักงานอุตสาหกรรมอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[14] สำนักงานกองทุนเงินทดแทน กระทรวงแรงงาน. สถิติการประสบอันตรายจากการทำงานในข่ายกองทุนเงินทดแทน, แหล่งที่มา : http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=801, 10 มิถุนายน 2558.
[15] อิศรัฎฐ์ ริไธสง, 2558, การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณขั้นสูงสำหรับการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์, ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
[16] Yousef, Y., Jahangiri, M., Choobineh, A., Tabatabaei, H., Keshavarzi, S., Shams, A. and Mohammadi, Y., 2016, Validity assessment of the Persian version of the Nordic Safety Climate Questionnaire (NOSACQ-50): A case study in a Steel Company, Saf. Health Work 7(4): 326-330.
[17] Hofstede, G., 1998, Identifying organiza-tional subcultures: An empirical approach, J. Manag. Stud. 35(1): 1-12.
[18] Huanga, Y.H., Robertsona, M.M., Leea, J., Rineera, J., Murphya, L.A., Garabeta, A. and Dainoffa, M.J., 2014, Supervisory interpretation of safety climate versus employee safety climate perception: Association with safety behavior and outcomes for lone workers, Transport. Res. F: Traf. Psychol. Behav. 26: 348-360.
[19] Zohor, D., 2010, Thirty years of safety climate research: Reflections and future directions, Accident Anal. Prev. 65: 96-102.