การจัดผังการผลิตด้วยเทคโนโลยีกลุ่มสำหรับโรงงานผลิตเครื่องมือแพทย์

Main Article Content

รติพล จันทร์แพง
มานิตา ธรรมเจริญ
ชูศักดิ์ พรสิงห์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงการจัดวางเครื่องจักร โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกลุ่มในการปรับปรุงผังการผลิต และประเมินกำลังการผลิตตามผังการผลิตแบบใหม่ได้ด้วยรูปแบบคอขวดของโรงงานผลิตเครื่องมือแพทย์ตัวอย่าง โดยเลือกกระบวนการผลิตหลอดเก็บเลือด เนื่องจากพบปัญหากระบวนการผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง ระยะทางการลำเลียงชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อน ระยะเวลาการจัดเตรียมการผลิตและเปลี่ยนกระบวนการผลิตใช้เวลานาน การวิจัยครั้งนี้เริ่มจากการจัดกลุ่มของผลิตภัณฑ์ 8 กลุ่ม จัดวางแผนผังเครื่องจักรจำนวน 22 เครื่อง จัดทำแผนภาพการไหลของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต จัดกลุ่มตามหลักการของเทคโนโลยีกลุ่ม และแก้ไขปัญหาคอขวดตามหลักการของรูปแบบคอขวด ผลการวิจัยพบว่าก่อนการปรับปรุงการเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ไม่สัมพันธ์กับเครื่องจักร การใช้ประโยชน์การผลิตแบบยืดหยุ่นอยู่ที่ 12.07 % หลังการจากการปรับปรุงพบว่าสามารถจัดกลุ่มของผลิตภัณฑ์และเครื่องจักรที่สัมพันธ์กันได้เป็น 3 กลุ่ม โดยจากการคำนวณผลิตภัณฑ์มีจำนวนการผลิตเพิ่มขึ้น 3,960 ชุด/เดือน การใช้ประโยชน์การผลิตแบบยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 44.04 % และเมื่อปรับปรุงพื้นที่การทำงานจริงจากการลงทุน 2,066,666.67 บาท สามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มีจำนวนการผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3,771 ชุด/เดือน และมีอัตราผลตอบแทนการลงทุนเท่ากับ 82.11 % โดยสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลา 15 เดือน 


คำสำคัญ : เทคโนโลยีกลุ่ม; รูปแบบคอขวด

Article Details

บท
Engineering and Architecture
Author Biographies

รติพล จันทร์แพง

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ถนนราชมรรคถาใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000

มานิตา ธรรมเจริญ

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ถนนราชมรรคถาใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000

ชูศักดิ์ พรสิงห์

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ถนนราชมรรคถาใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000

References

[1] กรมสรรพากร, 2558, ก้าวสู่สังคมสูงอายุ : สังคมผู้สูงอายุ...ประเทศไทยพร้อมหรือยัง, น.สรรพากรสาส์น 2558: 87-97.
[2] Groover, M.P., 2002, Chapter 15 Group Technology and Cellular Manufacturing, pp. 420-442, Textbook Automation, Production Systems, and Computer Integrated Manufacturing.
[3] Suzić, N., Stevanov, B., Ćosić, I., Anišić, Z. and Sremčev, N., 2012, Customizing products through application of group technology: A case study of furniture manufacturing, J. Mechanic. Eng. 58: 724-731.
[4] Groover, M.P., 2002, Chapter 16 Flexible Manufacturing System, pp. 460-487, Textbook Automation, Production Systems, and Computer Integrated Manufacturing.
[5] Singholi, A., Chhabra, D. and Ali, M., 2010, Towards improving the performance of flexible manufacturing system: A case study, J. Indust. Eng. Manag. 3: 87-115.
[6] Kumar, B.S., Mahesh, V., Kumar, B.S., 2015, Modeling and analysis of flexible manufacturing system with FlexSim, Int. J. Computat. Eng. 5(10): 1-6.