การวิเคราะห์การใช้การไหลแบบควงสว่านที่ขับเคลื่อนโดยสนามไฟฟ้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งแบบใช้ลมร้อน

Main Article Content

ไชยณรงค์ จักรธรานนท์
ทศพร กลิ่นมาลี
ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์อิทธิพลของลมหมุนวนแบบควงสว่านที่ถูกขับเคลื่อนโดยสนามไฟฟ้าที่มีต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งแบบใช้ลมร้อน ลวดกราวด์ 2 เส้น ถูกวางในแนวขนานกับทิศการไหลของลมร้อน ส่วนตำแหน่งของลวดอีเล็กโตรดถูกวางตั้งฉากกับทิศทางการไหล ตำแหน่งของปลายลวดอีเล็กโตรดซึ่งอ้างอิงกับตำแหน่งของผิวหน้าของวัสดุพรุนถูกทดสอบที่ระยะในทิศตั้งฉากการไหล Ly = 2 และ 4 cm และที่ระยะในแนวทิศการไหล Lx = 30 และ 33.75 cm แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ทดสอบมีค่า V = 5, 10, และ 20 kV อุณหภูมิและความเร็วเฉลี่ยของลมร้อนก่อนเข้าหน้าตัดทดสอบถูกควบคุมที่ 60 ºC และ 0.33 m/s ตามลำดับ วัสดุพรุนถูกใช้แทนด้วยแพคเบดซึ่งประกอบด้วย น้ำ อากาศ และเม็ดแก้วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.125 mm แพคเบดมีค่าความอิ่มตัวเริ่มต้น Si = 0.5 ผลจากการทดลองพบว่าเมื่อปล่อยสนามไฟฟ้าสู่ลมร้อนทำให้เกิดลมหมุนในระนาบตั้งฉากกับการไหลบริเวณเหนือผิวหน้าของแพคเบด การใช้สนามไฟฟ้าที่แรงดัน V = 20 kV ทำให้อุณหภูมิและอัตราการระเหยของความชื้นออกจากวัสดุเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นของการอบแห้งซึ่งภายในวัสดุมีความชื้นอยู่มาก และการติดตั้งอีเล็กโตรดที่ใกล้กึ่งกลางของผิวหน้าแพคเบด (Lx = 33.75 cm) ได้ประสิทธิภาพการอบแห้งที่ดีขึ้น จากภาพถ่ายการไหลแสดงให้เห็นว่ารูปร่างและตำแหน่งของลมหมุนวนเปลี่ยนตามตำแหน่งของอีเล็กโตรด การติดตั้งอีเล็กโตรดที่สูงขึ้นส่งผลทำให้ขนาดวงของการหมุนกว้างขึ้น ด้วยผลของลมหมุนวนแบบควงสว่านที่สร้างจากสนามไฟฟ้าทำให้อัตราการอบแห้งสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 1.7-2.2 เท่า และค่าสัมประสิทธิ์การพาความร้อนมีค่าสูงขึ้นประมาณ 2-2.8 เท่า 


คำสำคัญ : ลมหมุนควงสว่าน; อีเล็กโตรไฮโดรไดนามิกส์; การอบแห้งด้วยลมร้อน; การเพิ่มการถ่ายเทมวลและความร้อน

Article Details

บท
Engineering and Architecture
Author Biographies

ไชยณรงค์ จักรธรานนท์

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ทศพร กลิ่นมาลี

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

References

[1] Chaktranond, C. and Rattanadecho, P., 2010, Analysis of heat and mass transfer enhancement in porous material subjected to electric fields (Effects of particle sizes and layered Arrangement), Exp. Therm. Fluid Sci. 34: 1049-1056.
[2] Wang, W., Yang, L., Wu, K., Lin, C., Huo, P., Liu, S., Huang, D. and Lin, M., 2017, Regulation-controlling of boundary layer by multi-wire-to-cylinder negative corona discharge, Appl. Therm. Eng. 119: 438-448.
[3] Lai, F.C., and Zhang, J., 2011, Effect of emitting electrode number on the performance of EHD gas pump in a rectangular channel, J. Elect. 69: 486-493.
[4] Lee, J.R. and Lau, E.V., 2017, Effects of relative humidity in the convective heat transfer over flat surface using ionic wind, Appl. Therm. Eng. 114: 554-560.
[5] Yabe, A., Mori, Y. and Hijikata, K., 1978, EHD study of the corona wind between wire and plates electrodes, AIAA J. 16: 340-345.
[6] Lai, F.C. and Lai, K.W., 2002, EHD-enhanced drying with wire electrode, Drying Technol. 20: 1393-1405.
[7] Lai, F.C. and Wang, C.C., 2009, EHD-enhanced water evaporation from partially wetted glass beads with auxiliary heating from below, Drying Technol. 27: 1199-1204.
[8] Ahmedou, A.O., Rouaud, O. and Havet, M., 2009, Assessment of the electrohydro-dynamic drying process, Food Bioproc. Technol. 2: 240-247.
[9] Saenewong Na Ayuttaya, S., Chaktranond, C. and Rattanadecho, P., 2013, Numerical analysis of electric force influence on heat transfer in a channel flow (Theory based on saturated porous medium approach), Int. J. Heat Mass Trans. 64: 361-374.
[10] Aoki, K., Hattori, M., Kitamura, M. and Shiraishi, N., 1991, Characteristics of heat transport in porous media with water infiltration, ASME/JSME Therm. Eng. Proc. 4: 303-308.