ความสัมพันธ์ของการเกิดเห็ดเผาะกับไม้เต็งจากแปลงทดลองที่มีความถี่ไฟต่างกันในป่าเต็งรัง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

Main Article Content

สุนันทา วิสิทธิพานิช
สิริรัตน์ จันทร์มหเสถียร
สันติ สาระพล
มานพ ผู้พัฒน์
พงษ์ศักดิ์ พลเสนา
สุดชาย วิสิทธิพานิช

บทคัดย่อ

ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดเห็ดเผาะกับไม้เต็งจากแปลงทดลองถาวรที่มีความถี่ของการเกิดไฟต่างกันในป่าเต็งรัง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าบริเวณที่เกิดเห็ดเผาะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งที่ไม้เต็งขึ้นอยู่ในระดับสูง โดยศึกษาในแปลงทดลองถาวรขนาด 100 x 100 ตารางเมตร (1 เฮกตาร์) จำนวน 10 แปลง ในป่าเต็งรังที่มีไม้เต็งและไม้รังเป็นพรรณไม้เด่น มีการป้องกันไฟและเผาที่ความถี่ต่างกันเป็นเวลา 9 ปี (พ.ศ. 2551-2559) และเก็บข้อมูลในปี พ.ศ. 2559 โดยวัดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกและบันทึกพิกัดไม้เต็งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก (diameter at breast height, DBH) ตั้งแต่ 4.5 เซนติเมตร ขึ้นไป ก่อนการเก็บข้อมูลการเกิดเห็ดเผาะที่ดำเนินการในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม โดยวัดพิกัดบริเวณที่เกิดดอกเห็ดของแต่ละแปลงในแต่ละวัน และชั่งน้ำหนักรวม จากนั้นหาความสัมพันธ์ของพิกัดเห็ดเผาะกับพิกัดไม้เต็งโดยการสร้างกราฟพิกัดเพื่อศึกษาการกระจาย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักของเห็ดเผาะกับความหนาแน่นของไม้เต็งจากแปลงทดลองที่มีระดับความถี่ไฟต่างกันโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรง จากนั้นแบ่งแปลงขนาด 100 x 100 ตารางเมตร เป็นแปลงขนาด 25 x 25 ตารางเมตร จำนวน 16 แปลง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักของเห็ดเผาะ และจำนวนต้นของไม้เต็งแยกตามชั้นขนาดความโตต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่าไม้เต็งเป็นพรรณไม้เด่นในทุกแปลงทดลอง ซึ่งจะประกอบด้วยไม้เต็งในหลายชั้นขนาดความโต โดยตำแหน่งของการเกิดเห็ดเผาะและน้ำหนักของเห็ดเผาะไม่มีความสัมพันธ์กับขนาดความโตของไม้เต็ง และพบว่าน้ำหนักของเห็ดเผาะมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของไม้เต็งสูงมากในแปลงที่ถูกเผาด้วยความถี่ของไฟมาก ๆ เช่น แปลงเผาทุกปี และแปลงเผาปีเว้นปี โดยมีสมการของความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักของเห็ดเผาะและความหนาแน่นของไม้เต็ง รวมทั้งค่า R2 ของแปลงเผาทุกปี แปลงเผาปีเว้นปี แปลงเผาทุก 2 ปี และแปลงเผาทุก 6 ปี คือ Y = 50.866X - 416.82, R2 = 0.8428; Y = 40.22X - 262.25, R2 = 0.8355; Y = 27.371X - 246.5, R2 = 0.7355 และ Y = 31.084X - 434.33, R2 = 0.2735 ตามลำดับ โดยสามารถใช้สมการของแปลงเผาทุกปี แปลงเผาปีเว้นปี และแปลงเผาทุก 2 ปี ในการทำนายผลผลิตเห็ดเผาะจากความหนาแน่นของไม้เต็งในป่าเต็งรังที่มีไม้เต็งและไม้รังเป็นไม้เด่นในปีที่มีสภาพอากาศปกติได้

Article Details

บท
Biological Sciences
Author Biographies

สุนันทา วิสิทธิพานิช

ส่วนวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

สิริรัตน์ จันทร์มหเสถียร

ส่วนวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

สันติ สาระพล

ส่วนวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

มานพ ผู้พัฒน์

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

พงษ์ศักดิ์ พลเสนา

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

สุดชาย วิสิทธิพานิช

ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

References

Office of the Royal Society, 2007, Mushrooms in Thailand, 2nd Ed., Office of the Royal Society, Bangkok, 272 p. (in Thai)

Petcharat, V., 2003, Edible Astraeus (Basidiomycota) from Thailand, Nord. J. Bot. 23: 499-503.

Phosri, C., Watling, R., Martín, M.P. and Whalley, A.J.S., 2004, The genus Astraeus in Thailand, Mycotaxon 89: 453-463.

Chandrasrikul, A., Suwanarit, P., Sangwanit, U., Lumyong, S., Payapanon, A., Sanoamuang, N., Pukahuta, C., Petcharat, V., Sardsud, U., Duengkae, K., Klinhom, U., Thongkantha, S. and Thongklam, S., 2011, Checklist of Mushrooms (Basidiomycetes) in Thailand, Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP), Bangkok, 432 p.

Phosri, C., Martín, M.P. and Watling, R., 2013, Astraeus: Hidden dimensions, IMA Fungus 4: 347-356.

Naikasetinsi, 2016, Rare Wild Mushrooms: Easy Plant, Easy Sell, Panyachon Intellectuals, Bangkok, 176 p. (in Thai)

Sangwanit, U., 2009, The diversity of Ectomycorrhiza mushrooms, pp. 46-52, Proceedings of Mushrooms Checklist in Thailand, Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP), Bangkok. (in Thai)

Wisittipanich, S., Wisittipanich, S., Duengkae, K., Poopath, M., Phonsena, P., Na Nakorn, T. and Janmahasatien, S., 2018, Effect of Fire Frequency on Earthstar Mushroom (Astraeus sp.) Production and Dry Dipterocarp Forest Structure at Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, Forest and Plant Conservation Research Office, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. 70 p. (in Thai)

Pongpisutta, R., 2016, Earthstar: What are the useful from these fungi?, Kasetpirom 2(10): 28-29. (in Thai)

Santisuk, T., 2012, Forest of Thailand, 3rd Ed., Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok, 124 p. (in Thai)

Hirschberger, P., 2016, Forests Ablaze: Causes and Effects of Global Forest Fires. World Wildlife Fund (WWF) Deutschland, Berlin. 107 p.

Ayawong, C., Himaman, W., Duengkae, K., Sakolrak, B. and Pongpanich, K., Ecology, Natural Distribution, and Ectomycorrhizal Character Testing of Earthstar (Astraeus spp.), Available Source: http://portal.dnp.go.th/DNP/FileSystem/download?uuid=44e3f5e0-a68f-4a04-beca-529cd16421be.pdf, February 27, 2018. (in Thai)

Sukwong, S., 1998, Forest Fires Ecology in Thailand, Forest Fires and Community Participation Academic Seminar Report, pp. 13-20, The Regional Community Forestry Training Center for Asia and the Pacific (RECOFTC), Bangkok. (in Thai)

Suphawatvirojn, J., 2008, Ecological Factors, Forest Fire and Indigenous Knowledge on Fruit-body Formation of Astraeis hygrometricus (Pers) Morg. in Meung Na Sub-district, Chang Dao District, Chiang Mai Province, Master Thesis, Chaing Mai University, Chiang Mai, 214 p. (in Thai)

Vachiropasnan, K., 1999, Forest Fire Risk Classification of Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, Master Thesis, Mahidol University, Bangkok, 84 p. (in Thai)

Akaakara, S., Wiriya, K., Thongtan, T. and Nhuchaiya, P., 2004, Fuel Characteristics in Dry Dipterocarp Forest, Huay Kha Khang Wildlife Sancturary, Uthai Thani Province, Forest Protection and Fire Control Office, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok, 42 p. (in Thai)

Wisittipanich, S., Maiku, W., Jintana, P. and Wisittipanich, S., 2008, Effect of Drought and Forest Fire on Mix Deciduous Forest and Dry Dipterocarp Forest Ecology and Environment: A Case Study at Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, Report, Forest and Plant Conservation Research Office, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok, 15 p. (in Thai)

Himmapan, W. and Kaitpraneet, S., 2008, Effect of fire on vegetation in the dry deciduous dipterocarp forest at Huai Kha Khaeng wildlife sanctuary, Uthai Thani province, Thai J. For. 27(1): 43-55. (in Thai)

Kennedy, H.K., 2014, Effect of Fire on The Production of Astraeus (Basidiomycetes) Sporocarps in Deciduous Dipterocarp-Oak Forests, Master Thesis, Chiang Mai University, Chiang Mai, 46 p.

Kaitpraneet, S., Thangtham, N., Sangtongpraow, S., Dhanmanonda, P., Bhumpakphan, N. and Akaakara, S., 1991, Forest Fires and The Impact from Forest Fire in Thailand Full Report, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok, 271 p. (in Thai)