ผลของสีแคลลัสและระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงต่อปริมาณสารทุติยภูมิของแคลลัสกระเจี๊ยบแดง

Main Article Content

เยาวพา จิระเกียรติกุล
ปพิชญา ขวานทอง
ภาณุมาศ ฤทธิไชย
อรุณพร อิฐรัตน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


สีของแคลลัสและระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงแคลลัสมีผลต่อปริมาณสารทุติยภูมิของพืชสมุนไพร งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสีแคลลัสกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa Linn.) และระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงแคลลัสสีแดงต่อปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมด สารประกอบฟีนอลิคทั้งหมด สารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH จากการศึกษาปริมาณสารทุติยภูมิของแคลลัสสีเขียวขาว แดง และแดงเข้ม พบว่าแคลลัสสีแดงเข้มมีปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมด (0.38±0.08 mg cyd-3-glu/L) สารประกอบฟีนอลิคทั้งหมด (28.29±3.16 mg GAE/g dry extract) สารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (13.22±2.11 mg CE/g dry extract) สูงกว่า และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH (EC50 = 78.82±6.61 µg/mL) ดีกว่าแคลลัสสีแดง และสีเขียวขาว ส่วนการเพาะเลี้ยงแคลลัสสีแดงเข้มเป็นระยะเวลา 7-28 วัน พบว่าแคลลัสสีแดงเข้มที่เพาะเลี้ยงนาน 28 วัน มีปริมาณสารแอนโทไซยานินทั้งหมด (0.45±0.08 mg cyd-3-glu/L) สารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงสุด (11.34±2.60 mg CE/g dry extract) และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH (EC50 = 85.70±12.86 µg/mL) ดีกว่าแคลลัสที่ระยะเวลาเพาะเลี้ยงนาน 7-21 วัน ส่วนปริมาณสารประกอบฟีนอลิคทั้งหมดไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในทุกระยะเวลาที่เพาะเลี้ยง


คำสำคัญ : แคลลัส; กระเจี๊ยบแดง; แอนโทไซยานิน; ฟีนอลิค; ฟลาโวนอยด์

Article Details

บท
Biological Sciences
Author Biographies

เยาวพา จิระเกียรติกุล

สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ปพิชญา ขวานทอง

สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ภาณุมาศ ฤทธิไชย

สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

อรุณพร อิฐรัตน์

สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

References

[1] กฤษณา บุญศิริ, 2535, อิทธิพลของวันปลูก ระยะปลูก และการเด็ดยอดต่อผลผลิตและคุณภาพของกระเจี๊ยบแดง, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[2] Ali, B.H., Wabel, N.A. and Blunden, G., 2005, Phytochemical, pharmacological and toxicological aspects of Hibiscus sabdariffa L.: A review, Phytother. Res. 19: 369-375.
[3] Mahadevan, N., Shivali and Kamboj, P., 2009, Hibiscus sabdariffa Linn.: An overview, Nat. Prod. Rad. 8: 77-83.
[4] Da-Costa-Rocha, I., Bonnlaender, B., Sievers, H., Pischel, I. and Heinrich, M., 2014, Hibiscus sabdariffa L.: A phytochemical and pharmacological review, Food Chem. 165: 424-443.
[5] Morton, J.F., 1987, Fruits of Warm Climate, Florida Flair Books, Miami, 505 p.
[6] Babatunde, F.E. and Mofoke, A.L.E., 2006, Performance of roselle (Hibiscus sabdariffa L.) as influenced by irrigation schedules, Pak. J. Nutr. 5: 363-367.
[7] วราภรณ์ ภูตะลุน, 2551, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร แนวทางการศึกษาเพื่อผลิตสารทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา, ขอนแก่นพิมพ์พัฒนา, ขอนแก่น, 120 น.
[8] ปพิชญา ขวานทอง, 2559, ผลของ Phenylala nine และ Jasmonic acid ต่อปริมาณสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ของแคลลัส กระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa Linn.) ในสภาพปลอดเชื้อ, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
[9] Ramachandra Rao, S. and Ravishankar, G.A., 2002, Plant cell cultures: Chemical factories of secondary metabolites, Biotechnol. Adv. 20: 101-153.
[10] Yamamoto, T., Mizugushi, R. and Yamada, Y., 1982, Selection of a high stable pigment producing strain in cultured Euphorbia milli cells, Theor. Appl. Genet. 16: 113-116.
[11] Anjusha, S. and Gangaprasad, A.N., 2017, Callus culture and in vitro production of anthraquinone in Gynochthodes umbellata (L.) Razafim. & B. Bremer (Rubiaceae), Ind. Crops Prod. 95: 608-614.
[12] ทิพย์สุคนธ์ บุญยืน, เยาวพา จิระเกียรติกุล, ภาณุมาศ ฤทธิไชย, ศรีโสภา เรืองหนู และอรุณพร อิฐรัตน์, 2557, ปริมาณ dioscorealide B ของยอดข้าวเย็นใต้ (Dioscorea membrana cea Pierre ex Prain & Burkill) ในสภาพปลอดเชื้อที่ระยะเวลาเพาะเลี้ยงต่างกัน, แก่นเกษตร 42: 306-310.
[13] Chen, H. and Chen, F., 2000, Effect of yeast elicitor on the secondary metabolism of Ti-transformed Salvia miltiorrhiza cell suspension culture, Plant Cell Rep. 19: 710-717.
[14] Lee, J., Durst, R.W. and Wrolstad, R.E., 2005, Determination of total monomeric anthocyanin pigment content of fruit juices, beverages, natural colorants, and wines by the pH differential method: collaborative study, J. AOAC Int. 88: 1269-1278.
[15] Folin, O. and Ciocalteu, V., 1927, On tyrosine and tryptophan determination in proteins, J. Bio. Chem. 27: 627-650.
[16] Zhu, H., Wang, Y., Liu, Y., Xia, Y. and Tang, T., 2010, Analysis of flavonoids in Portulaca oleracea L. by UV-Vis spectro photometry with comparative study on different extraction technologies, Food Anal. Methods. 3: 90-97.
[17] Yamasaki, K., Hashimoto, A., Kokusenya, Y., Miyamoto, T. and Sato, T., 1994, Electrochemical method for estimating the antioxidative effect of methanol feeding, Enzyme Microb. Tech. 36: 133-138.
[18] Simões, C., Bizarri, C.H.B., Cordeiro, L.S., Castro, T.C., Coutada, L.C.M., Silva, A.J.R., Albarello, N, and Mansur, E., 2009, Anthocyanin production in callus cultures of Cleome rosea: Modulation by culture conditions and characterization of pigments by means of HPLC-DAD/ESIMS, Plant Physiol. Bioch. 45: 895-903.
[19] Anusha, T.S., Joseph, M.V. and Elyas, K.K., 2016, Callus induction and elicitation of total phenolics in callus cell suspension culture of Celastrus paniculatus – willd, an endangered medicinal plant in India, Pharmacogn. J. 8: 471-475.