การนำเศษของเสียจากชีวภาพไปใช้ประโยชน์โดยผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง

Main Article Content

จารุวรรณ วงค์ทะเนตร
รัชฌาธร เทพรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพและศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากของเสียชีวภาพระหว่างกากตะกอนน้ำเสียชุมชน วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และตัวประสาน รวมทั้งเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง 238/2547 โดยใช้ของเสียชีวภาพ คือ กากตะกอนน้ำเสียชุมชน กะลามะพร้าว กาบมะพร้าว และแกลบ โดยมีตะกอนแป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน ที่อัตราส่วน 0.35:0.40:0.25 และ 0.65:0.15:0.20  กิโลกรัม ตามลำดับ และขึ้นรูปอัดแท่งด้วยกระบวนการอัดเย็น จากนั้นศึกษาคุณสมบัติทางเคมี คือ ค่าความร้อน ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า และคุณสมบัติทางกายภาพ คือ ค่าความหนาแน่นและดัชนีแตกร้าว รวมทั้งนำเชื้อเพลิงอัดแท่งมาทดสอบใช้งาน ผลการวิจัยพบว่า กากตะกอนน้ำเสียชุมชน กะลามะพร้าว และตะกอนแป้งมันสำปะหลัง ในอัตราส่วน 0.35:0.40:0.25 เป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ด้วยคุณสมบัติทางเคมีของค่าความร้อน 5,158.09 แคลอรี่ต่อกรัม ปริมาณความชื้นและปริมาณเถ้าร้อยละ 0.04 และ 8.71 โดยน้ำหนัก และคุณสมบัติทางกายภาพของค่าความหนาแน่น 0.91 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และดัชนีแตกร้าว 0.97 นอกจากนี้พบว่าการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงอัดแท่งมีระยะการจุดติดไฟที่ 35 นาที ระยะเวลาเกิดควันที่ 47 นาที และปริมาณเถ้าน้อย ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง 238/2547 ดังนั้นการศึกษางานวิจัยนี้สามารถประยุกต์เป็นแนวทางในการนำของเสียชีวภาพมาใช้ประโยชน์ผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งสำหรับใช้เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกของชุมชน

Article Details

บท
Engineering and Architecture

References

Ruchuwararak, P., Kerdsuk, W., Sarawadee, D., Chantaramas, W. and Kerdsuk, W.,2013, A ResultofRenewable Energy for Cooking in The Household, Academic Journal of Humanities and Social sciencesBuriram Rajabhat University. 2: 46-59. (in Thai)

Peamsuwan R and Deeto S., 2021, The Production and Properties of Fuel Briquettes from Animal and Agricultural Bio-waste to Renewable Energy Source in Rural Community. Journal of Renewable Energy and Smart Grid Technology.2: 56-67.

Sukaranandana K and Tanpaiboolkul N., 2019, Utilizationof CassavaResiduefrom Agro-Industry as Binder with Powder of Palmyra Palm fruit Peel Charcoal for Briquettes Fuel Production. E-Journal, Science and Technology Silpakorn University. 6: 48-65. (in Thai)

Thepsaskul W., Thammachat W., Intaniwet A., 2016, Investigation of coconut shell carbonization fuel briquettes fabrication, 12th Conference on Energy Network of Thailand, pp.610 – 618. (in Thai)

Kumpapai, C., Boonthanom, N., Rodjananon, T. and Wongthanate, J., 2020, The Efficiency Comparison of Fuel Briquettes from Agricultural Wastes. The Journal of Industrial Technology. 3:28-38. (in Thai)

AmericanSociety forTesting and Materials (ASTM).2015.Standard Test Methods for Gross CalorificValueof Coaland Coke by the Isoperibol Bomb Calorimeter: D3286-96In ASTM. AnnualBookof AmericanStandard Testing Methods,Vol05.06.

AmericanSociety forTesting and Materials (ASTM).1996.Standard Test Methods for Proximate Analysis of Coal and Coke by Macro Thermogravimetric Analysis : D7582-15In ASTM. AnnualBookof AmericanStandard Testing Methods,Vol05.06.

AmericanSociety forTesting and Materials (ASTM).1993.Standard Test Methods for Drop ShatterTest for Coke: D3038-93 In ASTM. AnnualBookof AmericanStandard Testing Methods, Vol 05.06.

Anantanukulwong, R., Chemae, R., Sareanu, N., 2019, Production of Charcoal from Agricultural Waste Residues, YRU Journal of Science and Technology. 1:47-53. (in Thai)

Thepha,S.and MongkhamklangS.,2019, Study of Briquette Production from Coconut Shell Mixed Sugarcane bagasse and Pandanus Leaves. Journal of Industrial Technology. 2: 16-20. (in Thai)

Sangkhaphan A., 2017, Co-Pelletized Briquettes Production from Municipal Wastewater Sludge; Case Study of Pattaya Municipal wastewater treatment plant. Local and Global Sustainability: Meeting the Challenges and Sharing the Solution,9th Nationnaland International Conference, pp.1523 – 1533. (in Thai)

Thai Industrial Standards Institute (TISI), Ministry of Industry. Thai Community Product Standards Charcoal Bar TCPS number 238/2547, 2004. (in Thai)

Saha,K., Hossain, M., Ali,R.and Alam, M., 2014, Feasibility Study of Coconut Coir DustBriquette. Journalof theBangladesh Agricultural University. 2: 369-376.

Sunthararak, S., Makmon, D. and Wongmalee W., 2018, The Development of CharcoalFuelBriquettes from Eucalyptus leaves And Brasiliensis leaves,2nd National and International Research Conference, pp.339-348. (in Thai)

Photong N and Wongthanate J., 2019, Biofuel Production from Bio-Waste by Biological and Physical Conversion Processes. Journalof Waste Management and Research. 1:1-9.