ระดับความเข้มข้นของอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสำหรับการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมเบญจมาศ

Main Article Content

จักรกฤษณ์ ศรีแสง
ปานกมล จรลี
กัลยาภรณ์ เอื้อเฟื้อ
กมลทิพย์ สิถิระบุตร

บทคัดย่อ

การเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมเบญจมาศในสภาพปลอดเชื้อ เพื่อใช้ในโครงการวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์และการขยายสายพันธุ์เพื่อผลิตเชิงการค้า ใช้งบประมาณ เวลา และแรงงานจำนวนมาก อีกทั้งราคาสารเคมีที่ใช้ในการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงบางชนิดมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของเบญจมาศบนอาหารสูตร MS ที่มีระดับความเข้มข้นแตกต่างกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยวางแผนการทดลองแบบ factorial in CRD ประกอบด้วย 2 ปัจจัยหลัก คือ สายพันธุ์เบญจมาศ จำนวน 10 พันธุ์ (สายพันธุ์ M14–1, M10/1, M14–7, MK38, M11–3, M10, M7–7,  M14–9, M7–10 และสายพันธุ์ M9–5) และระดับความเข้มข้นของอาหารเพาะเลี้ยง 4 สูตร (MS, 1/2 MS, 1/3 MS และ 1/4 MS) ผลการทดลอง พบว่า  ความยาวต้น จำนวนใบ ความยาวใบ และความกว้างใบของเบญจมาศอายุ 4 สัปดาห์ที่เลี้ยงบนอาหารเพาะเลี้ยงสูตร 1/2 MS, 1/3 MS และ 1/4 MS มีค่าไม่แตกต่างกับเบญจมาศที่เลี้ยงในอาหารสูตร MS ปกติ แสดงว่าการเก็บรักษาสายพันธุ์เบญจมาศในสภาพปลอดเชื้อสามารถลดระดับความเข้มข้นของอาหารเพาะเลี้ยงลงได้ อย่างไรก็ตาม การตอบสนองของแต่ละสายพันธุ์มีการเจริญเติบโตสำหรับลักษณะความสูงต้น จำนวนใบ ความกว้างใบ และความยาวใบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย