ความคิดเห็นที่มีต่อการผลิตมะยงชิดนครนายกของเกษตรกรในอำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

Main Article Content

รัตมณี นาคคล้าย
พัชราวดี ศรีบุญเรือง
พิชัย ทองดีเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลและด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรในอำเภอเมืองนครนายก 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกมะยงชิด และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเศรษฐกิจกับการปลูกมะยงชิดในพื้นที่อำเภอเมืองนครนายก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 289 ราย สุ่มตัวอย่างจากกลุ่มตัวอย่างแต่ละตำบลโดยวิธีสุ่มแบบบังเอิญ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าไคสแคว์ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.92 ปี ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า จำนวนสมาชิกครัวเรือน 3–4 คน ประสบการณ์ในการปลูกมะยงชิดเฉลี่ย 11.83 ปี จำนวนพื้นที่ปลูกมะยงชิดเฉลี่ย 2.33 ไร่ ต้นทุนในการปลูกมะยงชิดเฉลี่ย 1,508.78 บาทต่อไร่ต่อปี ใช้เงินทุนของตนเอง ในปี 2561 มีปริมาณผลผลิตจากการปลูกมะยงชิดเฉลี่ย 25.27 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้จากการจำ หน่ายเฉลี่ย 4,138.87 บาทต่อไร่ต่อปี ในภาพรวมของปัจจัยเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์ต่อการปลูกมะยงชิด และความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกมะยงชิดของเกษตรกรในด้านการเตรียมพันธุ์ การเก็บเกี่ยว การตลาดและการจำหน่ายอยู่ในระดับมาก ส่วนแนวโน้มการปลูกมะยงชิดอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านเศรษฐกิจส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ต่อการปลูกมะยงชิดของเกษตรกร ได้แก่ พื้นที่ปลูก จำนวนผลผลิต ต้นทุนในการปลูก และแหล่งเงินทุน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย