การใช้ราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชของเกษตรกร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ราไตรโคเดอร์มาของเกษตรกร การใช้ราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชของเกษตรกรและปัญหา ข้อเสนอแนะจากการใช้ราไตรโคเดอร์มาของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 230 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 53.50) มีอายุ 51–67 ปี (ร้อยละ 35.20) สถานภาพสมรส (ร้อยละ 85.70) จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 80.40) มีประสบการณ์ในการใช้ราไตรโคเดอร์มา 2 ปี (ร้อยละ 79.10) มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด11–20 ไร่ (ร้อยละ 50.40) ปลูกมะม่วงมากที่สุด (ร้อยละ 40.00) ปริมาณผลผลิต 2,000–2,330 กก./ไร่/ปี (ร้อยละ 39.10) รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตในช่วงระหว่าง 35,667–65,333 บาท/ไร่/ปี (ร้อยละ 35.70) รายจ่ายจากการผลิตในช่วงระหว่าง 27,602–40,000 บาท/ไร่/ปี (ร้อยละ 37.80) ในภาพรวมเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ราไตรโคเดอรม์ าอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยรวม 0.84) และเกษตรกรมีการใช้ราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืช อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยรวม 1.91) ประกอบด้วย ด้านการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ การบ่มราไตรโคเดอร์มาการใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์มาการใช้น้ำเชื้อสดฉีดพ่นลงดินและพืชและการเตรียมน้ำผสมราไตรโคเดอร์มาสดอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 1.95, 1.94, 1.93, 1.91 และ 1.86 ตามลำดับ)