การประยุกต์ใช้ร่วมกันของผงเชื้อ Trichoderma sp. และ Bacillus sp. ต่อการควบคุมโรคเมล็ดด่างที่เกิดจาก Bipolaris oryzae ในข้าว

Main Article Content

ปัณณวิชญ์ เย็นจิตต์
ธิดา เดชฮวบ
วาริน อินทนา

บทคัดย่อ

เชื้อ Trichoderma spp. จำนวน 3 สายพันธุ์ที่แยกได้จากดินบริเวณรอบรากข้าว ได้แก่ Trichoderma sp. NS–01 และ Trichoderma sp. NS–02 ถูกจำแนกเป็น T. viride และ Trichoderma sp. NS–03 เป็น T. harzianum สำหรับ Bacillus spp. จำนวน 2 สายพันธุ์ คือ Bacillus sp. NS–01 และ Bacillus sp. NS–02 ที่แยกได้จากใบข้าวถูกจำแนกเป็น B. amyloliquefaciens และ B. subtillis ตามลำดับ การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อปฏิปักษ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Bipolaris oryzae NS–04 (สายพันธุ์จาก อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์) พบว่า Trichoderma sp. NS–03 และ Bacillus sp. NS–02 สามารถยับยั้งเชื้อ Bi. oryzae NS–04 ไม่แตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ทางการค้า T. asperellum CB–Pin–01 และ Bacillus sp. No2 ตามลำดับ จากนั้นทดสอบในสภาพโรงเรือนโดยใช้ผงเชื้อปฏิปักษ์ที่ความเข้มข้น 2 × 105 โคโลนีต่อมิลลิลิตรฉีดพ่นจำนวน 2 ครั้ง เพื่อควบคุมโรคเมล็ดด่าง พบว่า ที่ระยะ 14 วันหลังการฉีดพ่น การใช้เชื้อ Trichoderma sp. NS–03 เชื้อเดียวสามารถลดการเกิดโรคได้ 55.84 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อใช้ผงเชื้อ Trichoderma sp. NS–03 ร่วมกับผงเชื้อ Bacillus sp. NS–02 สามารถลดการเกิดโรคได้สูงสุด 72.98 เปอร์เซ็นต์ ใกล้เคียงกับการใช้สารเคมีอามูเร่ 30% w/v EC (โพรพิโคนาโซล + ไดฟีโนโคนาโซล) ที่ลดการเกิดโรคได้ 73.71 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ การใช้ร่วมกันของผงเชื้อ Trichoderma sp. NS–03 และผงเชื้อ Bacillus sp. NS–02 อย่างละ 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นควบคุมโรคเมล็ดด่างในแปลงนาจำนวน 3 ครั้ง เป็นเวลา 21 วัน พบว่า สามารถลดการเกิดโรคได้สูงถึง 74.36 เปอร์เซ็นต์ และข้าวให้ผลผลิตสูงสุดที่ 940.50 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่กรรมวิธีควบคุม (Untreated control) มีการเกิดโรคสูงสุดและให้ผลผลิตต่ำสุดที่ 697.50 กิโลกรัมต่อไร่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย