การจำแนกเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคลำต้นเน่าของข้าวโพดด้วยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของกลุ่มยีน

Main Article Content

อริษา จิตรติกรกุล
จุฑาเทพ วัชระไชยคุปต์
สุจินต์ ภัทรภูวดล
วิชัย โฆสิตรัตน

บทคัดย่อ

เก็บตัวอย่างโรคลำต้นเน่าของข้าวโพดจากจังหวัดสระบุรีและกาญจนบุรีมาแยกเชื้อและทดสอบความสามารถในการก่อให้เกิดโรคบนต้นกล้าข้าวโพดพันธุ์ SM2678 และ ST0390 ด้วยวิธี toothpick method นำแบคทีเรีย 18 ไอโซเลท ที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นเชื้อสาเหตุโรคมาทดสอบการติดสีแบบแกรม คุณสมบัติทางสรีรวิทยาและชีวเคมี และตรวจสอบด้วยวิธี PCR ด้วยไพรเมอร์ที่จำเพาะต่อเชื้อ Dickeya spp. พบว่าทั้ง 18 ไอโซเลท เป็นแบคทีเรียแกรมลบเซลล์รูปร่างท่อนตรงขนาด 0.25 – 0.67 x 1.07 – 5.69 ไมครอนส่วนใหญ่อยู่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ บางครั้งอาจต่อกันเป็นสายสั้น ๆ เคลื่อนที่ได้ เป็นพวก facultative anaerobe เจริญได้ที่ 36 องศาเซลเซียสไม่เจริญในอาหารที่มี 5% NaCl สร้างเอนไซม์ catalase gelatinase และสร้าง indole ไม่สร้างเอนไซม์ oxidase และ urease รีดิวซ์ไนเตรทได้ ใช้ citrate sucrose lactose และD–(–)–arabinose ได้แต่ไม่ใช้ D–sorbitol, D–(+)–maltose และ L–arginine สอดคล้องกับเชื้อ Dickeya spp. ให้ผลบวกกับปฏิกิริยา PCR ต่อชุดไพรเมอร์ที่จำเพาะต่อเชื้อ Dickeyaspp. การวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16S rRNA และ recA ของเชื้อไอโซเลท DZ15SB01 DZ15SB06 DZ15KB01 และDZ15KB05 ให้ผลการวิเคราะห์ว่าเชื้อทั้งหมดจัดอยู่ในกลุ่มของเชื้อ Dickeya spp. เช่นกัน เมื่อนำเชื้อทั้ง 4 ไอโซเลท ไปวิเคราะห์ด้วยวิธี Mutilocus sequence analysis (MLSA) โดยใช้ข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนสำคัญหลัก dnaJ dnaX gyrB recA recN และ rpoB ที่นำมาเชื่อมต่อกันทั้ง 6 ยีน วิเคราะห์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลจำแนกได้ว่าเชื้อทั้ง 4 ไอโซเลท จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับเชื้อ Dickeya zeae

Article Details

บท
บทความวิจัย