การคัดเลือกพันธุ์พืชวงศ์แตงต้านทานต่อเชื้อไวรัส Cucumber mosaic virus, Papaya ringspot virus และ Zucchini yellow mosaic virus

Main Article Content

ขวัญชนก อารีกิจ
วิชัย โฆสิตรัตน
Scott Adkins
สุจินต์ ภัทรภูวดล

บทคัดย่อ

คัดเลือกแหล่งพันธุกรรมพันธุ์พืชวงศ์แตงจำนวนทั้งหมด 169 สายพันธุ์ ได้แก่ ฟักทอง 34 สายพันธุ์ บวบเหลี่ยม 69 สายพันธุ์ และแตงโม 66 สายพันธุ์ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัท โคลเวอร์ ซีดประเทศไทย จำกัด มาทำการประเมินความต้านทานต่อเชื้อ Cucumber mosaic virus ไอโซเลท NK10 (CMV-NK10), Papaya ringspot virus ไอโซเลท Cu014 (PRSV-Cu014) และ Zucchini yellow mosaic virus ไอโซเลท Cu012 (ZYMV-Cu012) ในสภาพโรงเรือนทดลอง โดยการปลูกเชื้อไวรัสโดยวิธีกลให้กับต้นกล้าของพืชทดสอบในระยะใบจริงคู่แรกและคู่ที่สอง ภายหลังการปลูกเชื้อไวรัส 4 สัปดาห์ เก็บใบพืชทดสอบมาตรวจปริมาณเชื้อไวรัสด้วยเทคนิคIndirect plate trapped antigen ELISA ( Indirect PTA-ELISA) และบันทึกอาการของโรค นำเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคมากำหนดดัชนีความต้านทาน โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ immune (I), resistant (R), moderate resistant (MR), moderate susceptible (MS) และ susceptible (S) จากการทดลองครั้งนี้พบบวบเหลี่ยมจำนวน 12 สายพันธุ์ที่แสดงความต้านทานในระดับ I ต่อเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิด จากสายพันธุ์พืชทั้งหมดที่ทดสอบครั้งนี้พบฟักทอง 18 สายพันธุ์ บวบเหลี่ยม 50 สายพันธุ์ และแตงโม 66 สายพันธุ์ที่แสดงความต้านทานในระดับ I ต่อเชื้อ CMV-NK-10 นอกจากนี้ยังพบว่ามีบวบเหลี่ยม และแตงโมจำนวน 17 และ 5 สายพันธุ์ตามลำดับ แสดงความต้านทานที่ระดับ I ต่อเชื้อ PRSV-Cu014 ในขณะที่มีบวบเหลี่ยมเพียง 66 สายพันธุ์ที่แสดงความต้านทานที่ระดับ I ต่อเชื้อ ZYMVCu012 สายพันธุ์พืชที่มีความต้านทานในระดับ I เหล่านี้เป็นแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญในการปรับปรุงพันธุ์พืชวงศ์แตงต้านทานต่อเชื้อ CMV, PRSV และ ZYMV ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย