การชักนำให้เกิดโพลีพลอยด์จากเนื้อเยื่อลินเดอเนียด้วยสารละลายโคลชิซินในสภาพปลอดเชื้อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ลินเดอเนียมีลักษณะต้น ใบ และดอกขนาดเล็ก เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Linderniaceae มีลักษณะคล้ายต้นแววมยุราที่เป็นไม้ดอกประดับ มีรายงานการใช้สารโคลชิซินในการทำให้ต้นพืชเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจุดประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของสารละลายโคลชิซินต่อการเจริญเติบโต และสัณฐานวิทยาที่เปลี่ยนแปลงไป โดยนำส่วนข้อของลินเดอเนียมาฟอกฆ่าเชื้อ จากนั้นเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งสูตร ½ MS ทำการสับแยกเนื้อเยื่อแล้วแช่ส่วนข้อในอาหารเหลวสูตร ½ MS ที่มีสารละลายโคลชิซินในความเข้มข้นต่าง ๆ คือ 0, 5, 10, 15 และ 20 ppm แช่ในระยะเวลาต่าง ๆ คือ 1, 2 และ 3 วัน ในสภาพปลอดเชื้อเป็นเวลา 30 วัน จากการทดลองพบว่าชิ้นส่วนพืชในส่วนข้อของต้นลินเดอเนียเมื่อได้รับสารละลายโคลชิซินในความเข้มข้นต่าง ๆ ในระยะเวลาต่าง ๆ ทำให้มีอัตราการรอดชีวิตและจำนวนยอดต่ำด้วย จะเห็นได้ชัดเจนในความเข้มข้นที่ 15 ppm ระยะเวลา 3 วัน อัตราการรอดชีวิตเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ และจำนวนยอดที่เกิด 5 ยอด ในส่วนของความสูงต้น, ความยาวปล้องและความยาวใบลดลงในทุกความเข้มข้น ความกว้างใบเมื่อได้รับสารโคลชิซินที่ความเข้มข้น 5 ppm และ 20 ppm ทำให้ความกว้างใบต่ำกว่าต้นที่ไม่ได้รับสารโคลชิซิน จำนวนรากเห็นได้ชัดในต้นที่ได้รับสารโคลชิซิน 5 ppm และ 10 ppm ทำให้มีรากสั้นลง และความยาวรากสารละลายโคลชิซินมีผลคือ มีจำนวนรากลดลง ในความเข้มข้น 10 ppm และ 15 ppm เมื่อเทียบกับต้นที่ไม่ได้รับสารละลายโคลชิซิน และจากการคัดเลือกต้นที่คาดว่าเป็นโพลีพลอยด์พบว่าต้นที่ได้รับสารละลายโคลชิซินจะมีความหนาของลำต้นมากกว่า ความสูงของต้นต่ำกว่า มีใบที่หดสั้นลง และมีลักษณะหงิกงอในทุกความเข้มข้นแตกต่างจากต้นที่ไม่ได้รับสารละลายโคลชิซิน และต้นที่ให้สารละลายโคลชิซิน 5 ppmที่ระยะเวลา 2 วัน ให้ต้นที่มีระดับพลอยดีเป็นเตตระพลอยด์ (2n = 4x)