ผลของรังสีแกรมมาที่มีต่อมันเทศประดับพันธุ์ผสมในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

นุชรัฐ บาลลา
ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์
อัญชลี จาละ
ธีระชัย ธนานันต์

บทคัดย่อ

มันเทศประดับ กำลังเป็นที่นิยมเนื่องจากเป็นพืชที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีและมีความทนต่อสภาวะแล้งได้ ปัจจุบันในตลาดไม้ดอกไม้ประดับโลก มันเทศประดับเป็นไม้ประดับที่สวยงาม สายพันธุ์ของมันเทศประดับยังไม่มีความหลากหลายเท่าที่ควร ซึ่งจุดประสงค์ของการทดลองในครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของรังสีแกมมาที่ทำให้มันเทศประดับลูกผสม ในสภาพปลอดเชื้อเกิดการกลาย มีลักษณะใหม่เกิดขึ้น โดยนำตาบริเวณข้อของมันเทศประดับลูกผสม พันธุ์ใบหยัก (MTL) และใบหยักลึก (MTDL) มาฟอกฆ่าเชื้อและเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทำการ subculture แล้วนำไปฉายรังสีแกมม่าแบบเฉียบพลันที่ระดับ 20, 40, 60, 80 และ 100 เกรย์ ตามลำดับ หลังจากฉายรังสีเป็นเวลา 60 วัน สามารถคำนวณหาค่า LD50(60d) ได้ดังนี้ MTL มีค่า LD50(60d) ที่ 30.001 เกรย์ MTDL มีค่า LD50(60d) ที่ 46.665 เกรย์ ตามลำดับ หลังจากนั้นทำการ subculture จนถึงรุ่น M1V3 จึงทำการออกปลูกในแปลงปลูก พบว่า มันเทศประดับสายพันธุ์ MTDL ที่ได้รับรังสี 20 เกรย์ มีสีที่เปลี่ยนแปลงไปคือสีของลำต้นและใบมีลักษณะเป็นสีเขียวอ่อนซึ่งแตกต่างกับต้นที่ไม่ได้รับการฉายรังสี ส่วนพันธุ์ MTL ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
บทความวิจัย