ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus subtillis NS–03 ในการควบคุม โรคใบขีดสีน้ำตาลของข้าวที่เกิดจากเชื้อรา Cercospora oryzae

Main Article Content

ปัณณวิชญ์ เย็นจิตต์
ศรัณยา เพ่งผล
วาริน อินทนา

บทคัดย่อ

 แบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtillis NS–03 ได้รับการผลิตเป็นชีวภัณฑ์ จำนวน 3 สูตร โดยใช้ผงถ่านชีวภาพผสมกับทัลคัมเป็นสารพา ในสัดส่วนผงถ่านชีวภาพและผงทัลคัมที่ต่างกัน คือ ในผลิตภัณฑ์ 100 กรัม สูตรที่ 1 มีผงถ่านชีวภาพ 60 กรัม และผงทัลคัม 10 กรัม สูตรที่ 2 มีผงถ่านชีวภาพ 40 กรัม และผงทัลคัม 30 กรัม ส่วนสูตร 3 มีผงถ่านชีวภาพ 20 กรัม และผงทัลคัม 50 กรัม หลังการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 12 เดือน พบว่า ชีวภัณฑ์ที่มีสัดส่วนของผงถ่านชีวภาพเพิ่มขึ้นทำให้แบคทีเรีย B. subtillis NS–03 มีชีวิตรอดเพิ่มขึ้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) โดย สูตรที่ 1, 2 และ 3 มีจำนวนประชากรของ B. subtillis NS–03 เท่ากับ 1.2 × 1010, 1.0 × 109 และ 2.5 × 108 cfu/g ตามลำดับ ผลของชีวภัณฑ์ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Cercospora oryzae สาเหตุโรคใบขีดสีน้ำตาลของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 บนอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar พบว่า สูตรที่ 1 สามารถยับยั้งเชื้อรา C. oryzae ได้สูงสุด รองลงมาคือ สูตรที่ 2 และ 3 สามารถยับยั้งเชื้อรา C. oryzae ได้ เท่ากับ 51.20, 47.78 และ 44.63% ตามลำดับ สำหรับการทดลองในโรงเรือนบนการควบคุมโรคใบขีดสีน้ำตาลของข้าว การใช้ชีวภัณฑ์แบคทีเรียปฏิปักษ์ 3 สูตร พ่นต้นข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมโดยกรรมวิธีการที่ใช้สารเคมีคาร์เบนดาซิม ชีวภัณฑ์สูตร 1, สูตร 2 และ สูตร 3 สามารถควบคุมการเกิดโรคใบขีดสีน้ำตาลได้ เท่ากับ 75.64, 69.33, 56.29 และ 41.87% ตามลำดับ นอกจากนี้พบแบคทีเรีย Bacillus spp. เจริญครอบครองใบข้าว 62.30–89.26% หลังการพ่นชีวภัณฑ์ครั้งที่ 2 เป็นเวลา 14 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย