ความเป็นไปได้ในการผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกร อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

มณฑิรา สังขจร
พนามาศ ตรีวรรณกุล
พัฒนา สุขประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การผลิตขมิ้นชัน 2) ความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice, GAP) 3) ความเป็นไปได้ในการผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐาน GAP และ 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเป็นไปได้ในการผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐาน GAP ของเกษตรกร 104 ราย ในพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ผลิตขมิ้นชัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 68.3 มีประสบการณ์ปลูกขมิ้นชันเฉลี่ย 12.45 ปี มีพื้นที่ปลูกขมิ้นชันเฉลี่ย 1.87 ไร่ (2,992 ตารางเมตร) มีแรงงานเฉลี่ยในครัวเรือนที่ผลิตขมิ้นชัน 2 คน ใช้เงินทุนตนเองในการปลูกขมิ้นชัน ร้อยละ 97.1 ได้ผลผลิต ขมิ้นชันเฉลี่ย 1,239.62 กิโลกรัมต่อไร่ โดยมีรายจ่ายเฉลี่ยในการผลิตขมิ้นชัน 5,107.69 บาทต่อไร่ และมี รายได้เฉลี่ยจากการผลิตขมิ้นชัน 22,581.70 บาทต่อไร่ เกษตรกร ร้อยละ 55.8 ผลิตขมิ้นชันในดินร่วนปนทราย ร้อยละ 68.3 ไม่มีการปรับปรุงดินก่อนปลูกขมิ้นชัน ร้อยละ 85.6 อาศัยน้ำฝนในการปลูกขมิ้นชัน ร้อยละ 57.7 ใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตขมิ้นชัน ร้อยละ 89.4 มีการกำจัดวัชพืช และร้อยละ 44.2 มีการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรมีความรู้ระดับมากเกี่ยวกับการผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐาน GAP โดยมีคะแนนเฉลี่ย 11.01 คะแนน และเห็นด้วยระดับมากเกี่ยวกับการผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐาน GAP (ค่าเฉลี่ย 2.66) เกษตรกร ร้อยละ 85.6 ผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐาน GAP โดยปฏิบัติ 8–15 ข้อ จาก 23 ข้อ ซึ่งมีความเป็นไปได้ระดับปานกลางที่เกษตรกรจะผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐาน GAP และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความคิดเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐาน GAP (P < 0.01) การใช้ปุ๋ยในการปลูกขมิ้นชัน (P < 0.01) และการป้องกันกำจัดศัตรูพืช (P < 0.05) มีความสัมพันธ์กับความเป็นไปได้ในการผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐาน GAP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรสนับสนุนให้เกษตรกร ปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP ในการผลิตขมิ้นชันให้ครบทุกข้อกำหนด เพื่อขอการรับรองมาตรฐาน GAP

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aunsub, P. and S. Srisuwan. 2014. Farmer’s opinion on Good Agricultural Practice system (GAP) of rice Ban Phraek district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. Agricultural Sci. J. 45(2)(Suppl.): 197–200. (in Thai)

Department of Agricultural Extension. 2013. Turmeric. Available Source: http://www.agriman.doae.go.th/herbal/herbdoae006/khamin%20chan.pdf, May 10, 2020. (in Thai)

Horticulture Research Institute. 2013. Production system of medicinal herbs and spices in the south of Thailand. Available Source: https://www.doa.go.th/plan/wp-content/uploads/2021/04/1091.1.1.5การสำรวจระบบการผลิตพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ.pdf, May 19, 2020. (in Thai)

Kaewduang, N., B. Yooprasert and P. Tangwiwat. 2017. Organic safe vegetables production of Good Agricultural Practice of farmers in Nong Khai province. Khon Kaen Agr. J. 45(Suppl. 1): 1590–1596. (in Thai)

Kanokhong, K., N. Rattanawan and P. Jeerat. 2018. Adoption of crop growing methods under the standards of Good Agricultural Practice (GAP) of farmers, Mon Ngo Royal Project Development Center, Mae Tang district, Chiang Mai. Journal of Agri. Research & Extension. 36(1): 75–84. (in Thai)

Kasikorn Research Center. 2019. Herbal market. Available Source: https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/SME-Herb_Market.aspx, February 10, 2020. (in Thai)

Khonthai, J., S. Rangsipaht and P. Tongdeelert. 2019. Needs on vegetable production based upon Good Agricultural Practice (GAP) of farmers in Nong Suea district, Pathum Thani province. Khon Kaen Agr. J. 47(4): 727–738. (in Thai)

Kongruang, C. and A. Songsom. 2004. Production and Marketing of Curcuma and Curcuma Products in Tamboon Lankhoi, Papayorm District, Patthalung Province. Thaksin University, Songkla. (in Thai)

Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Educ. Psychol. Meas. 30: 607–610.

National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards. 2018. Good Agricultural Practice. Available Source: https://www.acfs.go.th/#/standard-commodity/general, July 19, 2019. (in Thai)

National Science and Technology Development Agency. 2018. Marketing opportunities targeted herbal extracts. Available Source: https://www.nanotec.or.th/th/เอกสารเผยแพร่, May 15, 2021.

Paphayom District Agricultural Extension Office. 2018. Farmer registration. Available Source: http://paphayom.phatthalung.doae.go.th, February 3, 2018. (in Thai)

Theppradit, R. 2017. Turmeric Processing and Value Adding Project for Turmeric Growers. Available Source: http://hsmi2.psu.ac.th/food/project/689, February 15, 2020. (in Thai)