ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการผลิตทุเรียนแทนยางพาราของเกษตรกร ในโครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน

Main Article Content

กรรณิการ์ สังขจร
พนามาศ ตรีวรรณกุล
พัฒนา สุขประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลและข้อมูลด้านเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตทุเรียนของเกษตรกร 3) การผลิตทุเรียนของเกษตรกร และ 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการผลิตทุเรียนแทนยางพาราของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรชาวสวนยางพาราที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืนกับการยางแห่งประเทศไทย และปลูกทุเรียนแทนยางพาราในอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 143 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 46.43 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 43.3 มีประสบการณ์การปลูกยางเฉลี่ย 26.36 ปี มีพื้นที่ปลูกยางก่อนปรับเปลี่ยนเป็นทุเรียนเฉลี่ย 19.02 ไร่ มีรายได้เฉลี่ยจากการทำสวนยางพารา 37,500 บาทต่อปี มีประสบการณ์การผลิตทุเรียนเฉลี่ย 7.27 ปี มีพื้นที่ปลูกทุเรียน 11.04 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 58.04 ของพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด และมีรายจ่ายเฉลี่ยสำหรับการลงทุนเริ่มต้นเพื่อผลิตทุเรียน 20,756.60 บาทต่อไร่ ขณะปรับเปลี่ยนมาผลิตทุเรียน แทนยางพารา ยางพารามีราคาเฉลี่ย 20.28 บาทต่อกิโลกรัม และทุเรียนมีราคาเฉลี่ย 100.71 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตทุเรียนระดับมาก (13.34–20.00 คะแนน) ร้อยละ 77.6 คะแนนความรู้เฉลี่ย 15.05 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน เกษตรกรผลิตทุเรียนโดยปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมาก (13–18 ข้อ) ร้อยละ 79.0 โดยเกษตรกรปฏิบัติมากที่สุด 18 ข้อ และปฏิบัติน้อยที่สุด 8 ข้อ ความรู้เกี่ยวกับการผลิตทุเรียนมีความสัมพันธ์กับการผลิตทุเรียนของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ดังนั้น หน่วยงานส่งเสริมการเกษตรควรถ่ายทอดความรู้การผลิตทุเรียนแก่เกษตรกร เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตทุเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kaewtathip, W. 2014. Rubber Farmers’ Issues of Three Southern Border Provinces. Faculty of Science Technology and Agriculture, Yala Rajabhat University, Yala. (in Thai)

Kanokhong, K., N. Rattanawan and P. Jeerat. 2018. Adoption of crop growing methods under the standards of Good Agricultural Practice (GAP) of farmers, Mon Ngo Royal Project Development Center Mae Tang district, Chiang Mai. Journal of Agri. Research & Extension. 36(1): 75–84. (in Thai)

Keawta, D., S. Meechoui, B. Lersupavithnapa and P. Pibumrung. 2012. Farmer decision making of crop production system in Amphur Nanoi, Nan province, pp. 95–98. In Proc. the 8th National Agricultural Systems Conference, 5–7 September 2012. (in Thai)

Khaiman, P., I. Bunyasiri and P. Sirisupluxana. 2016. Factors influencing farmer’s decision making in Good Agricultural Practice (GAP) of durian in Chanthaburi province. In Proc. the 6th STOU National Research Conference, 25 November 2016. p. O-SS 037. (in Thai)

Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Educ. Psychol. Meas. 30: 607–610.

Ministry of Agriculture and Cooperatives. 2019. Durian situation in the south of Thailand in 2019. Available Source: https://www.moac.go.th/news-preview-411291791324, May 8, 2019. (in Thai)

Ministry of Commerce. 2018. Durian: king of Thai fruits, popular with foreign. Available Source: http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/thueriiyn_240863.pdf, Jun 28, 2019. (in Thai)

Rubber Authority of Thailand. 2019. Kick-off Project to Develop Small-Scale Rubber Farmers for Sustainability. Available Source: https://www.raot.co.th/ewt_news, Jun 15, 2019. (in Thai)

Sararak, P., S. Srisuwan and S. Niyamangkoon. 2016. Factors related to durian planting status of farmers in Tham Sing subdistrict, Mueang district, Chumphon province. Agricultural Sci. J. 47(2): 201–212. (in Thai)

Siribenjapruk, S. 2017. Thai durian and the challenges that should not be ignored. Available Source: https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Southern/ReasearchPaper/Challenging_of_Durian.PDF, July 28, 2019. (in Thai)