ความคาดหวังของคนในชุมชนต่อโครงการในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศูนย์ฝึกอบรมทางการเกษตรสัมมากร เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ

Main Article Content

พลวิวัฒน์ ไพรวัลย์
พิชัย ทองดีเลิศ
พัชราวดี ศรีบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล การรับรู้และความคาดหวังต่อโครงการในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศูนย์ฝึกอบรมทางการเกษตรสัมมากร เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และความคาดหวังต่อโครงการฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ คนในชุมชนหมู่บ้านสัมมากร เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ จำนวน 260 ครัวเรือน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติไคสแควร์เพื่อหาความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 38.68 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีการรับรู้โครงการฯ (ร้อยละ 55.8) และมีความคาดหวังในระดับมากด้านการซื้อผลผลิตทางการเกษตรของโครงการฯ (ค่าเฉลี่ย 2.90) ด้านการประชาสัมพันธ์ (ค่าเฉลี่ย 2.62) ด้านการศึกษาดูงาน (ค่าเฉลี่ย 2.59) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้วัตถุประสงค์มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังต่อโครงการฯ ด้านการศึกษาดูงาน (P < 0.01) การรับรู้ข้อมูลด้านการให้ความรู้ทางด้านการเกษตร การฝึกอบรมทางด้านการเกษตร และการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรมีความสัมพันธ์กับความคาดหวังด้านการฝึกอาชีพ (P < 0.01) และการซื้อผลผลิตทางการเกษตร (P < 0.01) นอกจากนี้ การรับรู้ด้านผลผลิตทางการเกษตรมีความสัมพันธ์กับความคาดหวังต่อโครงการฯ ด้านการเข้ารับการฝึกอาชีพ (P < 0.01) ด้านการซื้อผลผลิตทางการเกษตร (P < 0.01) และด้านการประชาสัมพันธ์ (P < 0.05) ดังนั้น โครงการฯ ควรจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรให้แก่คนในชุมชน ปรับรูปแบบการประชาสัมพันธ์และการอบรมเป็นรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึงผู้ที่สนใจได้อย่างทั่วถึง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bamrungkit, U. 2013. Royal Initiative Integrated Agricultural Project Development Plan. Sammakorn Village, Ramkhamhaeng 112, Saphan Sung District, Bangkok. Royal Park Maintenance Department, Srapathum Palace, Bangkok. (in Thai)

Bupata, K. and P. Phosing. 2019. Organic farming policy and life quality development of Thai farmers. J. MCU Ubon Review. 4(3): 191–206. (in Thai)

Jeenson, W. 2011. Factors Affecting Purchase Decision toward Non-Toxic Vegetables of Consumers in Bangkok. MS Thesis, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Pathum Thani. (in Thai)

Jun-iad, J. 2009. Short-course training to accomplished in organic agriculture. Princess of Naradhiwas University Journal. 1(2): 114–125. (in Thai)

Kakaew, M. 2016. Satisfaction of the Visitor towards the Integrated Agricultural Project under the Royal Initiation Her Royal Highness Female General Princess Maha Chakri Sirindhorn in Nakhon Nayok Province Support Centre. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Kamlangkarn, N. 2001. Farmers’ Opinions on Roles of Agricultural Technology Transfer Center in Tambon Tungnontri, Aomphoe Khowsaming, Changwat Trad. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Kittiudom, V. 2007. Demand for Professional Training of Active Labours Residing in Thonburi District, Bangkok. MS Thesis, Dhonburi Rajabhat University, Bangkok. (in Thai)

Klomthongjareon, K., S. Fongpetch, P. Siriprasertsin and P. Vannasathid. 2021. The demanding study for organic agriculture products of food store that located in Maejo University, Chiang Mai province. Princess of Naradhiwas University Journal. 16: 124–148. (in Thai)

Niyamangkul, S. 2013. Social Science and Statistical Research Methods Used. Book to You, Bangkok. (in Thai)

Sangthong, M., T. Yordudom and W. Buakaw. 2019. Study the perception of tourists in the area of Nakhon Si Thammarat. Narkbhut NSTRU. 11(2): 178–188. (in Thai)

Sangtriphetkra, B. 2016. Factors Relating to Knowledge on Engaging in Urban Agriculture of Trainees: A Case Study at the Naturally Organic Rooftop Garden Learning Center, Lak Si District, Bangkok Metropolis. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)