ผลของการใส่ปุ๋ยที่แตกต่างกันต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทนและผลผลิตข้าว

Main Article Content

ยุทธศาสตร์ อนุรักติพันธุ์
พงศ์ธร เพียรพิทักษ์
ปรางทิพย์ อุนจะนำ

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์: การทำนามีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การขังน้ำตลอดฤดูปลูกข้าวเป็นสาเหตุให้เกิดปฏิกิริยารีดักชันในดินลดลงและเพิ่มการปลดปล่อยก๊าซมีเทน (CH4) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใส่ปุ๋ยที่แตกต่างกันต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทนและผลผลิตข้าว
วิธีดำเนินการวิจัย: ปักดำข้าวหอมมะลิ 105 ในแปลงนา จังหวัดสุพรรณบุรีและอ่างทอง จัดแผนการทดลองแบบบล็อกสมบูรณ์เชิงสุ่ม ที่มี 6 ทรีตเมนต์ จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย ทรีตเมนต์ที่ 1 ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ ทรีตเมนต์ที่ 2 ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ทรีตเมนต์ที่ 3 ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราร้อยละ 50 ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM และน้ำหมักชีวภาพ ทรีตเมนต์ที่ 4 ถ่านชีวภาพในอัตราร้อยละ 50 ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM ทรีตเมนต์ที่ 5 ปุ๋ยเคมีตามคำแนะจากโปรแกรม TSFM และทรีตเมนต์ที่ 6 ปุ๋ยเคมีในอัตราร้อยละ 70 ตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM
ผลการวิจัย: ในแปลงนาสุพรรณบุรี ทรีตเมนต์ที่ 3 มีแนวโน้มปลดปล่อยก๊าซมีเทนสูงที่สุด (เฉลี่ย 12.59 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง) และทรีตเมนต์ที่ 6 มีแนวโน้มปลดปล่อยก๊าซมีเทนต่ำที่สุด (เฉลี่ย 9.55 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง) ขณะที่ ในแปลงนาอ่างทอง ทรีตเมนต์ที่ 2 มีแนวโน้มปลดปล่อยก๊าซมีเทนสูงที่สุด (เฉลี่ย 16.56 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง) ส่วนทรีตเมนต์ที่ 1 มีแนวโน้มปลดปล่อยก๊าซมีเทนต่ำที่สุด (เฉลี่ย 13.70 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง) ระดับน้ำ ค่ารีดอกซ์โพเทนเชียล และอัตราการหายใจของจุลินทรีย์ในดินมีความสัมพันธ์กับการปลดปล่อยก๊าซมีเทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ขณะที่ การใช้ปุ๋ยที่แตกต่างกันส่งผลให้การเจริญเติบโตของต้นข้าวและผลผลิตข้าวไม่แตกต่างกันทางสถิติ
สรุป: การใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราร้อยละ 70 ในแปลงนาจังหวัดสุพรรณบุรี และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพในแปลงนาจังหวัดอ่างทองปลดปล่อยก๊าซมีเทนน้อยที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Attanan, T. 1999. Organic Carbon in Soil. Department of Soil Science, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Aumtong, S. 2018. Paddy Soil and Management. Faculty of Agricultural Production, Maejo University, Chiang Mai, Thailand. 486 pp. (in Thai)

Cresser, M., K. Killham and T. Edwards. 1993. Soil Chemistry and Its Applications. Cambridge University Press, Cambridge, UK.

FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations). 2012. FAOSTAT. Available Source: http://faostat3.fao.org/download/Q/ QC/E, May 1, 2021.

Hemwong, S. 2018. Effects of rice husk charcoal under chemical and organic-chemical paddy filed on CH4 emission, growth and yield of KDML 105 rice. Journal of Agri. Research & Extension. 35(1): 1–11. (in Thai)

Intergovernmental Panel on Climate Change. 1996. Revised 1996 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories: Reference Manual. Available Source: https://www.ipccnggip.iges.or.jp/public/gl/invs6.html, May 1, 2021.

Jaimun, C., S. Aumtong, T. Chaipimonplin and C. Chotamonsak. 2020. Affecting factors on greenhouse gas emission under rice cultivation with alternate wetting and drying water management. Journal of Agri. Research & Extension. 37(2): 47–59. (in Thai)

Katoh, K., P. Chairoj, K. Yagi, H. Tsuruta, K. Minami and W. Cholikul. 1999. Methane emission from paddy fields in Northeast Thailand. JIRCAS J. 7: 87–96.

MGR Online. 2007. Methane gas in rice fields small story of global warming recommend reducing global warming should start mainly in the energy sector. Available Source: https://mgronline.com/science/detail/9500000088793, May 1, 2021 (in Thai)

Office of Agricultural Economics. 2021. Agricultural production data. Available Source: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/rice%20varieties%2064.pdf, August 31, 2023. (in Thai)

Office of Agricultural Economics. 2022. Agricultural Statictics of Thailand 2022. Available Source: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/ebookcategory/95_yearbook2565/, August 31, 2023. (in Thai)

Photyotin, W. 2000. Effect of Rice Varieties Diversity in Rajburi on Methane Emission using the Application of Geographic Information System. MS Thesis, King Mongkut’s University of Technology Thonburi, Bangkok. (in Thai)

Saengjan, P., S. Ro and P. Vityakon. 2015. Methane fluxes and rice yields as a function of sulfate fertilizer with incorporated rice stubble. KKU Res. J. 20(3): 337–345.

Sriboottha, A. and P. Saengjan. 2002. Factors influencing methane formation and emission from paddy fields. Academic Service Center Khon Kaen University J. 10(3): 42–46. (in Thai)

Warnock, D.D., J. Lehmann, T.W. Kuyper and M.C. Rillig. 2007. Mycorrhizal responses to biochar in soil – concepts and mechanisms. Plant Soil. 300: 9–20. https://doi.org/10.1007/s11104-007-9391-5.