ประสิทธิภาพของรูปแบบอุปกรณ์การให้อากาศ (Diffuser) ที่มีผลต่อคุณภาพน้ำและผลผลิตของกุ้งขาวแวนนาไม (Penaeus vannamei)

Main Article Content

กฤษณี วงศ์วุฒิวัฒน์
ศักดา วงศ์วุฒิวัฒน์
สุทธิพงษ์ สิริพร
พิมาน เหลาะเหม

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของรูปแบบการให้อากาศด้วย Diffuser ในบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมแบบผ้าใบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เมตร ประกอบด้วย 2 ชุดการทดลองๆ ละ 2 ซ้ำ คือ รูปแบบท่อDiffuser ที่ใช้ในฟาร์มเลี้ยงกุ้ง และรูปแบบแผงDiffuser บังคับทิศทางของน้ำที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยมีปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ แอมโมเนีย ตะกอนเลนต่อหน่วยพื้นที่ อัตราการเจริญเติบโต และอัตราการรอดตาย เป็นข้อมูลบ่งชี้ประสิทธิภาพ เลี้ยงกุ้ง ระยะ PL 12 ความหนาแน่น 1,132 ตัว/ลูกบาศก์เมตร เป็นเวลา 30 วัน


ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเจริญเติบโตและปริมาณตะกอนเลนต่อหน่วยพื้นที่ ในชุดการทดลองที่ 1 และ 2  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยกุ้งในชุดการทดลองที่ 2 มีน้ำหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น (1.27±0.01 ก.) และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (0.0426±0.70 ก.) สูงกว่าชุดการทดลองที่ 1 (1.20±0.01 และ 0.0375±0.08 ก. ตามลำดับ) ในขณะที่ตะกอนเลนพื้นบ่อ (0.017±0.00 กก./ตร.ม.) มีปริมาณน้อยกว่าชุดการทดลองที่ 1 (0.021±0.00 กก./ตร.ม.) อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในส่วนของปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ แอมโมเนีย และอัตราการรอดตาย ของชุดการทดลองที่ 1 และ 2 โดยมีค่าเท่ากับ 6.36±0.11 และ 6.46±0.09  มก./ล.,  0.01±0.14 และ 0.05±0.57  มก./ล. ในขณะที่มีอัตราการรอดตายที่ 86.44±1.00 และ 86.73±1.00 % ตามลำดับ


ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแผง Diffuser ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพรวมตะกอนเลนกลางบ่อได้ดีกว่า สามารถกำจัดออกได้ง่าย และส่งผลให้มีการเจริญเติบโตดี  จึงน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเพิ่มผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง. (2562). สถานการณ์สินค้ากุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562. กรุงเทพฯ: กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ณาตยา ศรีจันทึก. (2561). สถานการณ์สินค้ากุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ปี 2561. กรุงเทพฯ: กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ชลอ ลิ้มสุวรรณ และ พรเลิศ จันทร์รัชชกุล. (2547). อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Schuler D. J., (2008). Acute toxicity of ammonia and nitrite to white shrimp (L. vannamei) at low salinities. (Master thesis). Virginia: Virginia Polytechnic Institute and State University.

วัฒนา วัฒนกุล และคณะ. (2552). การวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมโดยการเปรียบเทียบวิธีการเลี้ยงแบบพัฒนาหนาแน่นสูงที่แตกต่างกัน 2 วิธี (รายงานการวิจัย). ตรัง: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

อุตสาหกรรมกุ้งไทย. (ม.ป.ป.). การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม. เข้าถึงได้จาก http://www.thailand shrimp.org/agriculture_vannamei8.html

บริษัทเบทาโกร จำกัด มหาชน. (ม.ป.ป.). คู่มือการเลี้ยงกุ้งขาว. เข้าถึงได้จาก http://betagrofeed .com/community/wp-content/uploads/2014/12

ชลอ ลิ้มสุวรรณ และคณะ. (2555). ผลของการนำสารอินทรีย์และเลนออกจากบ่อโดยท่อระบายกลางบ่อต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมอย่างหนาแน่น. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50 (น. 428-436). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชวลิต อัครคหสิน และคณะ. (2552). ประสิทธิภาพของระบบฉีดออกซิเจนแบบใหม่ในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei). การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47 (น. 133-141). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์