ประสิทธิภาพระบบน้ำหมุนเวียนในการอนุบาล กุ้งขาวแวนนาไม (Penaeus vannamei)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบน้ำหมุนเวียนโดยใช้วัสดุกรองจากธรรมชาติในการอนุบาลกุ้งขาวแวนนาไม โดยประกอบด้วย 2 ชุดการทดลอง คือ 1) อนุบาลในระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำปกติ และ 2) อนุบาลในระบบน้ำหมุนเวียนโดยใช้วัสดุกรองจากธรรมชาติ ปล่อยกุ้งขาวแวนนาไมระยะโพสลาลา 20 ที่ความหนาแน่น 3,000 ตัว/ตัน อนุบาลในบ่อพลาสติก ขนาด 3,600 ลิตร เป็นระยะเวลา 30 วัน
ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำในชุดการทดลองที่ 2 มีค่าแอมโมเนีย และไนไตรท์ ที่เหมาะสมกว่าชุดการทดลองที่ 1 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยที่ค่าแอมโมเนีย และไนไตรท์ของชุดการทดลองที่ 1 และ 2 เท่ากับ 0.45±0.20, 4.19±3.30 มก./ล. และ 0.23±0.10, 0.49±0.20 มก./ล. ตามลำดับ ส่วนในด้านการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตาย พบว่า กุ้งในชุดการทดลองที่ 2 มีน้ำหนักและความยาวเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น (1.30±0.00 ก. และ 4.30±0.00 ซม.) มากกว่าชุดการทดลองที่ 1 (1.26±0.00 ก. และ 4.00±0.00 ซม.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้ อัตราการรอดตายของชุดการทดลองที่ 2 (ร้อยละ 71.50±1.00 %) สูงกว่าชุดการทดลองที่ 1 (ร้อยละ 65.98±0.99 %) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อีกด้วย
ผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่าการอนุบาลกุ้งขาวแวนนาไมในระบบน้ำหมุนเวียนโดยใช้วัสดุกรองจากธรรมชาติ สามารถควบคุมปริมาณแอมโมเนียและไนไตรท์ได้ดีกว่า รวมทั้งกุ้งเจริญเติบโต และมีอัตราการรอดตายที่ดีกว่าการอนุบาลในระบบปกติ ดังนั้น จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่สามารถนำมาใช้ได้ เนื่องจากประหยัดเวลา ลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำ รวมทั้งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน Journal of Vocational Education in Agriculture ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Vocational Education in Agriculture ถือเป็นลิขสิทธิ์ของJournal of Vocational Education in Agriculture หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Vocational Education in Agriculture ก่อนเท่านั้น
References
กมลศิริ พันธนียะ. (ม.ป.ป). กุ้งขาวลิโทพีเนียส แวนนาไม. เข้าถึงได้จาก https://www.shrimpcenter. com/ t-shrimp051.html
โกวิทย์ พุฒทวี (2555). การเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบน้ำหมุนเวียนทางเลือกที่ควบคุมได้. เข้าถึงได้จาก http://www.nicaonline.com/
สิริพร แช่มสนิท และคณะ. (2560). การพัฒนาถ่านกัมมันต์ที่มีไอธรรมชาติของน้ำมันหอมระเหยเป็นสารป้องกันเชื้อราเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาสินค้าเกษตร. ประชุมวิชาการโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
นิคม ละอองศิริวงศ์ และคณะ. (2554). การเลี้ยงปลากะพงขาวขนาด 4-6 นิ้วในระบบน้ำหมุนเวียน. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 (น. 92-99). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
พุทธ ส่องแสงจินดา (2560) การจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับ (carrying capacity) ของการผลิตกุ้งขาวในบ่อเลี้ยงระบบ Race way. สัตว์น้ำ, 28(340).
กชพร กฤติยานันต์. (2554). การพัฒนาระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดขนาดเล็กสำหรับการเลี้ยงปลาน้ำจืด. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภาวรรณ พ่อค้า. และคณะ. (2555). การคัดเลือกตัวกลางที่เหมาะสมต่อการยึดเกาะของเมือกชีวภาพเพื่อบําบัดไนเตรทจากน้ำทิ้งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 15(3), 82–92.