การพัฒนากระบวนการผลิตอิฐมอญโดยใช้เศษแก้วเป็นสารเติมแต่ง

Main Article Content

นนทพงษ์ พลพวก

บทคัดย่อ


การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้เศษแก้วเป็นสารเติมแต่งต่อสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกลของอิฐดินเผา เศษแก้วถูกผสมที่อัตราส่วนผสม 0 5 10 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก แล้วเผาที่อุณหภูมิ 900 1,000 และ 1,100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ผลจากการศึกษาพบว่า เมื่ออุณหภูมิในการเผานานขึ้น มีผลทำให้การหดตัวของชิ้นงานเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับความหนาแน่นที่สูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณรูพรุนลดลงผลการศึกษาดังกล่าว สอดคล้องกับค่าความแข็งแรงของชิ้นงานที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่ออุณหภูมิในการเผาเพิ่มขึ้น ในส่วนของการศึกษาปริมาณการเติมเศษแก้ว พบว่า การเติมเศษแก้วในปริมาณที่มากขึ้นทำให้เกิดการเชื่อมประสานของแก้วหลอมระหว่างอนุภาคของดินมากขึ้น ชิ้นงานจึงมีแนวโน้มของค่าความหนาแน่นสูงขึ้น ในขณะที่รูพรุนลดลง ด้วยเหตุนี้ความแข็งแรงของชิ้นงานจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกับปริมาณเศษแก้วที่มากขึ้น จากผลการศึกษายืนยันได้ว่า      เศษแก้วสามารถนำมาใช้เป็นตัวเติมในกระบวนการผลิตอิฐดินเผาได้


Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พานทอง อินทรชัย. คุณสมบัติเชิงกลและเชิงความร้อนของอิฐดินเหนียวผสมเถ้าลอยและยิปซัมจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ. [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

Broown, I.W., and Mackenzie, K.J.D., Process desing for the production of a ceramic-like body from recycled waste glass. Part 1. The effect of fabrication variables on green strength. Journal of Materials Science, 1982; 17: 2164-2170.

Luz, A.P., and Ribeiro, S. Use of glass waste as a raw material in porcelain stoneware tile mixtures. Ceramics International, 2007; 33: 761-765.

Dondi, M., Guarini, G., Raimondo, M., Zanelli, C. Recycling PC and TV waste glass in clay bricks and roof tiles. Waste Management, 2009; 29: 1945-1951.

เอก ช่อประดับ. คุณสมบัติเชิงกายภาพของอิฐสามัญที่ทำจากดินเหนียวผสมแกลบ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท].มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.

Loryuenyong, V., Panyachai, T., Kaewsimork, K., Siritai, C., Effects of recycled glass substitution on the physical and mechanical properties of clay brick. Waste Management 2009; 29: 2727-2721.

Chidiac, S.E., and Federico L.M. Effects of waste glass addition on the properties and durability of fired clay brick. Canadian Journal of Civil Engineering, 2007; 34: 1458-1466.

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. เนื้อดินเซรามิก. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพมหานคร. 2541.

Demir, I. Reuse of waste glass in building brick production. Waste Management and Research, 2009; 27: 572-577.

พานทอง อินทรชัย. คุณสมบัติเชิงกลและเชิงความร้อนของอิฐดินเหนียวผสมเถ้าลอยและยิปซัมจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ. [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.