การศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งสัญญาณไฟจราจรและวงเวียน เพื่อควบคุมการจราจรบนทางแยก : กรณีศึกษา ทางแยกหน้าศรีพฤทธาลัย ราชภัฏสัมมนาคาร อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณจราจรทางถนน เสนอแนวทางการควบคุมจราจรบนทางแยก ทำการสำรวจข้อมูลปริมาณจราจรโดยใช้คนนับ เก็บข้อมูลปริมาณจราจร ความล่าช้าการจอดรอ เส้นผ่านศูนย์กลางรอบนอกของทางแยก ปริมาณจราจรที่เข้าสู่ทางแยกของถนนสายรองและสายหลัก นำมาพิจารณาวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาติดตั้งสัญญาณไฟจราจรตามเกณฑ์ของ Federal Highway Administration และการติดตั้งวงเวียนใช้เกณฑ์ของ AUSTROAD เพื่อควบคุมการจราจรบนทางแยกให้มีความเหมาะสมกับสภาพจราจร ผลการสำรวจปริมาณจราจรตลอด 12 ชั่วโมงของพื้นที่ศึกษา พบว่า ปริมาณจราจรสูงสุดอยู่ใน ช่วงเร่งด่วนเช้า คือ ช่วงเวลา 08.00 น. - 09.00 น. จำนวน 2,128 คันต่อชั่วโมง ปริมาณจราจรที่เข้าสู่ทางแยกของถนนสายรองและสายหลัก มากที่สุดคือ 560 คันต่อชั่วโมง และ 1,010 คันต่อชั่วโมง ตามลำดับ ความล่าช้าในการจอดรอจำนวน 10 คัน/ชั่วโมง ลักษณะทางกายภาพของทางแยก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกที่สามารถติดตั้งวงเวียน มีขนาด 17 เมตร โดยถนนเข้าสู่ทางแยกมีทั้ง 1 และ 2 ช่องจราจร เมื่อพิจารณาตามหลักการของ Federal Highway Administration พบว่าเข้าเกณฑ์การติดตั้งสัญญาณไฟจราจร เมื่อพิจารณาปริมาณจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนครบทุกข้อ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ก่อนเท่านั้น
References
ThaiRSC. ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai RSC. อินเทอร์เน็ต]. 2561. [สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2561] จาก: http://rvpreport. rvpeservice.com/viewrsc.aspx?report=0475&session=16
Federal Highway Administration. Federal Highway Administration. In Department of Transportation, Manual on Uniform Traffic Control Devices. U.S USA. 2003.
ดนัย พรมชาติ และประสิทธิ์ จึงสงวนพรสุข. ระบบช่วยตัดสินใจสำหรับเลือกวิธีควบคุม การจราจรของทางแยก. วารสารวิจัย มข., 2554; 9-16.
ชัยเทพ สาครวิเศษ. แนวทางการปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน กรณีศึกษาแยก สวนหย่อมธรรมนูญวิถี เทศบาลนครหาดใหญ่. [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559.
สำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง. รายงานการวิเคราะห์ คำนวณ ดัชนี การจราจรติดขัดและความหนาแน่นจราจร. กรุงเทพมหานคร. 2555.
AUSROADS. Guide to Traffic Engineering Practice,Part 6-Roundabout. Austroads Incs. 1993.
Transportation Research Board. Highway Capacity Manual. Washington, D.C. 2000.
พิเชษฐ์ พิเชฐพงศ์ธร. รายงานการบรรเทาการจราจรบริเวณสี่แยกหน้าสำนักงานนิคม อุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้. สำนักหอสมุด. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2559.