การคัดแยกแอคติโนมัยสีทที่สร้างสารสีจากดินรังปลวก มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกแอคติโนมัยสีทจากดินรังปลวก ศึกษาการสร้างและการสกัดสารสี รวมทั้งศึกษาการติดสีของเส้นใยฝ้ายที่ย้อมด้วยสารสีที่สกัดได้ โดยคัดแยกแอคติโนมัยสีทที่สร้างสารสีจากดินรังปลวกในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ด้วยการเพาะเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Starch M-Protein Agar พบแอคติโนมัยสีทที่สร้างสีบนอาหารแข็งจำนวน 3 ไอโซเลท โดยทั้ง 3 ไอโซเลท มีลักษณะโคโลนีกลม นูน และมีสีโคโลนีเป็นสีแดง เหลือง และส้ม จึงนำมาเพาะเลี้ยงบนปลายข้าวเพื่อศึกษาการสร้างสารสี ในสภาวะการหมักแบบแข็ง เป็นเวลา 3-5 วัน นำปลายข้าวที่มีสีไปอบให้แห้งและบดให้ละเอียด แล้วสกัดสีย้อมโดยใช้เอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 70 นำสีย้อมที่ได้มาย้อมสีเส้นใยฝ้าย พบว่า สีย้อมจากแอคติโนมัยสีท จำนวน 1 ไอโซเลท สามารถย้อมติดสีเส้นใยฝ้ายได้ คือโทนสีชมพู อย่างไรก็ตามควรมีการวัดค่าสีเทียบกับสีมาตรฐาน และศึกษาการย้อมติดสี ความคงทนของสี รวมทั้งการระบุชนิดของแอคติโนมัยสีทเพื่อการประยุกต์ใช้ต่อไปในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ก่อนเท่านั้น
References
Sujada, N., Sungthong, R. and Lumyong, S. (2014). Termite nests as an abundant source of cultivable actinobacteria for biotechnological purposes. Microbes and Environments, 12(2), 211-219.
Krishanti, NPRA., Zulfiana, D., Wikantyoso, B., Zulfitri, A. and Yusuf, S. (2018). Antimicrobial production by an actinomycetes isolated from the termite nest. Journal of Tropical Life Science, 8(3), 279-288.
Kolipaka, UM. & Sankar, GG. (2019). Studies on antimicrobial activity of a metabolite produced by Streptomyces malaysiensis isolated from termite mound soil. Research Journal of Pharmacy and Technology, 12(5), 2175-2181.
Padilla, MA., Rodrigues, RAF., Bastos, JCS., Martini, MC., Barnabé, ACS., Kohn, LK., Uetanabaro, APT., Bomfim, GF., Afonso, RS., Fantinatti-Garboggini, F. and Arns, CW. (2015). Actinobacteria from termite mounds show antiviral activity against bovine viral diarrhea virus, a surrogate model for hepatitis c virus. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, 2015, 1-9. doi: 10.1155/2015/745754.
สิทธิชัย อุดก่ำ และนฤมล เถื่อนกูล. (2564). การใชประโยชนจากสีของแอคติโนแบคทีเรียที่คัดแยกจากดินรังตอ-หมาราในการย้อมสีเส้นใยไหม. Life Science and Environmental Journal, 22(2), 166-177.
นฤมล เถื่อนกูล และนฤมล หวลระลึก. (2560). การคัดแยกแอคติโนมัยซีตจากดินรังปลวก อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เพื่อใชในการยอมสีเสนใยไหม. PSRU Journal of Science and Technology, 2(3), 1-8.
Parmar, RS. & Singh, C. (2018). A comprehensive study of eco-friendly natural pigment and its applications. Biochemistry and Biophysics Reports, 13, 22-26.
Takahashi, Y. & Nakashima, T. (2018). Actinomycetes, an inexhaustible source of naturally occurring antibiotics. Antibiotics., 7(45), 1-17.
Bawazir, AA. & Shantaram, M. (2018). Ecology and distribution of actinomycetes in nature-A review. International Journal of Current Research, 10(6), 71664-71668.
Ma, A., Zhang, X., Jiang, K., Zhoa, C., Liu, J., Wu, M., Wang, Y., Wang, M., Li, J. and Xu, S. (2020). Phylogenetic and physiological diversity of cultivable actinomycetes isolated from alpine habitats on the Qinghai-Tibetan plateau. Frontier Microbiology, 11, 1-15.
Trenozhnikova, L. & Azizan, A. (2018). Discovery of actinomycetes from extreme environments with potential to produce novel antibiotics. Central Asian Journal of Global Health, 7(1), 337-350.
จันทร์จรัส วัฒนะโชติ รวิวรรณ วัฒนดิลก และณิษา สิรนนท์ธนา. (2559). การพัฒนาการเพิ่มผลผลิตสารสีและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของเชื้อแอคติโนมัยซีท. ชลบุรี: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทัย กาบบัว. (2564). การคัดแยกแอคติโนมัยสีทที่สร้างสารสีจากดินที่ปลูกทุเรียนภูเขาไฟ. วารสารวิชาการ ปทุมวัน, 11(32), 60-72.
Abraham, J. & Chauhan, R. (2018). Profiling of red pigment produced by Streptomyces sp. JAR6 and its bioactivity. 3Biotech, 8(1), 22.
Fernandes, CJ., Doddavarapu, B., Harry, A., Dilip, SPS. and Ravi, L. (2021). Isolation and identification of pigment producing actinomycete Saccharomonospora azurea SJCJABS01. Biomedical & Pharmacology Journal, 14(4), 2261-2269.
Kulkarni, A., Desai, SV. and Shet, AR. (2017). Isolation and characterization of pigment producing actinomycetes from different sources. Research Journal of Pharmaceutical, Biological and Chemical Sciences, 8(3S), 101-109.
Barka, EA., Vatsa, P., Sanchez, L., Gaveau-Vaillant, N., Jacquard, C., Klenk, HP., Clement, C., Ouhdouch, Y. and Wezeld, GPV. (2016). Taxonomy, physiology, and natural products of actinobacteria. Microbiology and Molecular Biology Reviews, 80(1), 1-43.
นฤมล เถื่อนกูล. (2563). การประยุกต์ใช้สีจากแอคติโนแบคทีเรียสายพันธุ์กลายในการย้อมเส้นใยไหม. PSRU Journal of Science Technology, 5(2), 26-34.