การศึกษาเปรียบเทียบชนิดของไดอะตอมในแหล่งน้ำจืดกับริมตลิ่งเพื่อสนับสนุน งานทางนิติวิทยาศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พัทธมนัส ดำนุ้ย -
  • ปริญญา สีลานันท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้การวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบชนิดของไดอะตอมคลองเขารูปช้างกับชนิดของไดอะตอมบริเวณริมตลิ่งที่ระยะ 0, 1 และ 2 เมตร และที่ระยะห่างจุดละ 1 กิโลเมตร ฝั่งละ 3 จุด ทั้งสองฝั่งของคลอง โดยศึกษาจากลักษณะสัณฐานวิทยาในการจำแนกชนิดของไดอะตอม ไดอะตอมจัดเป็นแพลงก์ตอนพืช พบได้ตามแหล่งน้ำในธรรมชาติ มีความหลากหลายและจำเพาะในแต่ละพื้นที่ จึงสามารถนำมาพิสูจน์ข้อเท็จ จริงในกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ ระบุสถานที่จมน้ำได้ เชื่อมโยงไดอะตอมจากผู้เสียชีวิตและผู้ต้องสงสัยได้ ไดอะตอมมีผนังเซลล์ลักษณะเฉพาะที่เรียกว่าฟรัสตัล มองเห็นได้ชัดโดยใช้วิธีการทำความสะอาดไดอะตอมด้วยกรด HCL และ H2SO4 เพื่อขจัดคราบฟรัสตัลของไดอะตอม จำแนกชนิดและนับจำนวนไดอะตอมด้วย Hematocytometer พบว่าไดอะตอมที่พบในน้ำแต่ละจุด มีชนิดเด่นเป็นชนิดเดียวกันกับไดอะตอมที่พบในดินริมตลิ่งที่ระยะ 0 เมตรของแต่ละจุด โดยศึกษาจากความหนาแน่นของไดอะตอมในแต่ละจุด และจากการทดสอบความแตกต่างด้วย Pair-t-test พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการจำแนกชนิดของไดอะตอมสามารถนำมาประกอบการระบุจุดจมน้ำ การเคลื่อนย้ายศพ รวมถึงการเชื่อมโยงไดอะตอมจากผู้เสียชีวิตและไดอะตอมที่พบจากผู้ต้องสงสัยได้

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27