การประเมินศักยภาพอ่างเก็บกักน้ำ กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำห้วยหินกอง อำเภอปทุมราช จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
ความน่าเชื่อถือของโครงสร้าง , ดัชนีความน่าเชื่อถือ , ความน่าจะวิบัติ , การบริหารจัดการอ่างเก็บกักน้ำบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อ ประเมินความน่าเชื่อถือศักยภาพการบริหารแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อใช้เป็นข้อมูลป้องกันน้ำท่วม อ่างเก็บน้ำห้วยหินกอง อำเภอปทุมราช จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นอ่างเก็บน้ำที่นำมาใช้เป็นกรณีศึกษาการประเมินการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยการใช้ค่าความน่าจะวิบัติและดัชนีความน่าเชื่อถือของทฤษฎีความน่าเชื่อถือทางโครงสร้าง (Structural Reliability) เป็นตัวชี้วัด ใน 3 กรณี คือ กรณีที่ 1 เมื่อการไหลของน้ำเข้าอ่างลดลง กรณีที่ 2 เมื่อศักยภาพการเก็บกักน้ำลดลง และกรณีที่ 3 เมื่อสภาพการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคลดลง การจำลองสถานการณ์ใช้วิธี MonteCaro Simulation ผลการศึกษาพบว่า กรณีที่ 1 เมื่อการไหลของน้ำเข้าอ่างเก็บกักลดลง 0%, 5%, 10% และ 15% ความน่าจะวิบัติของการบริหารจัดการน้ำท่วมพื้นที่ลดลง และดัชนีความน่าเชื่อถือที่สอดคล้องจะมีค่าเพิ่มขึ้น กรณีที่ 2 เมื่อศักยภาพของอ่างเก็บกักน้ำลดลง 0%, 5%, 10% และ 15% ความน่าจะวิบัติของการบริหารจัดการน้ำท่วมพื้นที่เพิ่มขึ้น และดัชนีความน่าเชื่อถือที่สอดคล้องจะมีค่าลดลง กรณีที่ 3 เมื่อการไหลของน้ำออกจากอ่างน้อยลง 0%, 5%, 10% และ 15% ความน่าจะวิบัติของการบริหารจัดการน้ำท่วมพื้นที่ลดลง และดัชนีความน่าเชื่อถือที่สอดคล้องจะมีค่าเพิ่มขึ้น เหมือนกับกรณีที่ 1 ดังนั้น กรณีที่ 2 เป็นกรณีที่ผู้เกี่ยวข้องการบริหารจัดการน้ำ ควรพิจารณาให้มีการจัดทำแผนบำรุงรักษาอ่างเก็บน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วม