ความหลากหลายระดับชนิดของพืชสมุนไพรในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ความหลากหลาย, พืชสมุนไพร, ชุมชนไทลาว, พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน, ดัชนีรายงานการใช้บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดและภูมิปัญญาท้องถิ่นของพืชสมุนไพรในการรักษาสุขภาพเบื้องต้นของชุมชนไทลาวในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พื้นที่ศึกษาคือ บ้านดอนดู่และบ้านปลาค้าว ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นตัวแทนแต่ละครัวเรือนโดยวิธีการกำหนดโควต้าและเจาะจง หมู่บ้านละ 10 คน (ครัวเรือน) และใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างถึงชนิดและการใช้ประโยชน์ของพืชสมุนไพรในชุมชน ผลการศึกษาพบพืชสมุนไพรทั้งหมด 81 ชนิด 74 สกุล 49 วงศ์ พบพืชวงศ์ Fabaceae มากที่สุด จำนวน 6 ชนิด รองลงมาเป็นวงศ์ Rutaceae จำนวน 5 ชนิด และ Myrtaceae จำนวน 4 ชนิด พืชที่นิยมนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพรมากที่สุดคือ มะนาว และตะไคร้ โดยมีค่าดัชนีรายงานการใช้เท่ากันคือ 0.8 ไม้ล้มลุกเป็นพืชที่ถูกนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพรมากที่สุด 38 ชนิด (ร้อยละ 47) ส่วนของพืชที่นิยมใช้มากที่สุดคือ ใบ 41 ชนิด (ร้อยละ 33) รองลงมาเป็นราก มีจำนวน 23 ชนิด (ร้อยละ 18) วิธีการใช้พืชสมุนไพรทั้งหมดพบ 9 วิธี พบว่า วิธีที่พืชสมุนไพรถูกนำไปใช้มากที่สุดคือ การต้มดื่มเป็นชา จำนวน 35 ชนิด (ร้อยละ 40) รองลงมาเป็นนำไปประกอบอาหาร จำนวน 17 ชนิด (ร้อยละ 19) การศึกษาพบว่า กลุ่มอาการหรือโรคที่ชุมชนไทลาวทั้ง 2 ชุมชน ใช้พืชสมุนไพรในการรักษาเบื้องต้น มีทั้งหมด 22 กลุ่มอาการ โดยค่าดัชนีความเป็นเอกฉันท์ขององค์ความรู้ (ICF) มากที่สุดคือการใช้พืชในการขับปัสสาวะ มีค่า ICF เท่ากับ 0.88 และกลุ่มอาการหรือโรคที่มีจำนวนพืชสมุนไพรมาใช้ในการรักษามากที่สุด คือการใช้พืชเพื่อบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต จำนวน 18 ชนิด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 29-08-2020 (2)
- 29-08-2020 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น