Journal Information
การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด- กรุณาเลือกส่งไฟล์บทความเป็นไฟล์เวิร์ด(Word)
- กรุณาเขียนบทความด้วย Template ของวารสารกำหนด
- มีจริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)
- วารสารยังไม่มีการดำเนินการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
คำแนะนำผู้แต่ง
1. การเตรียมต้นฉบับสำหรับบทความวิจัย. Template ตัวอย่างบทความ
ก. ส่วนปก
- ชื่อบทความ (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรกะทัดรัด ไม่ยาวเกินไป ถ้าบทความเป็นภาษาไทย ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ชื่อผู้เขียน (Authors) ชื่อเต็ม – นามสกุลเต็ม ของผู้เขียนทุกคน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และให้ใส่หมายเลขพร้อมเครื่องหมายดอกจันทร์กำกับด้วย
- ที่อยู่ของผู้เขียนทุกคนให้ใส่ที่อยู่ให้ละเอียด ระบุ สังกัด (คณะ//มหาวิทยาลัย//จังหวัด) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามแบบฟอร์มกำหนด พร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ และ E-mail address ที่สามารถติดต่อได้ (ดูตัวอย่าง Template)
- ตัวเลขยก ให้เขียนไว้บนนามสกุล เพื่อระบุที่อยู่ของผู้เขียน
- บทคัดย่อ (Abstract) ควรสั้น ตรงประเด็น ครอบคลุมสาระสำคัญของการศึกษา ได้แก่ วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลการวิจารณ์ เป็นต้น ถ้าบทความเป็นภาษาไทยจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้ภาษาไทยขึ้นก่อน และไม่ควรเกิน 300 คำ
- คำสำคัญ (Keywords) ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เป็นการกำหนดคำสำคัญที่สามารถไปใช้เป็นคำสืบค้นในระบบฐานข้อมูลไม่เกิน 5 คำ
หมายเหตุ: หากเนื้อหาส่วนปกเกินให้นำบทคัดย่อภาษาอังกฤษขี้นหน้าถัดไป
ข. ส่วนเนื้อหา
- บทนำ/Introduction เพื่ออธิบายถึงความสำคัญของปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย รวมถึงการตรวจเอกสาร โดย บทนำ ควรบอกความสำคัญหรือที่มาของปัญหาที่นำไปสู่การศึกษา วัตถุประสงค์ สมมติฐาน และอาจรวมถึงการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ที่เกี่ยวข้อง หากมีการอธิบายคำศัพท์หรือคำศัพท์เฉพาะที่เป็นวงเล็บภาษาอังกฤษต่อท้าย ให้ขึ้นต้นคำแรกภาษาอังกฤษด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น เชื้อก่อโรค (Pathogen) หากมี 2 คำเป็นต้นไป ให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะคำแรก เช่น ขนาดวงใส (Clear zone) และถ้าคำศัพท์นั้นมีตัวย่อให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ เช่น การตรวจนับจุลินทรีย์มาตรฐาน (Standard Plate Count; SPC)
- วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ/Materials and Methods อธิบายเครื่องมือและวิธีการดำเนินการวิจัยให้ชัดเจน
- ผลการวิจัย/Results เสนอผลการทดลอง วิจัย อย่างชัดเจน ตรงประเด็น ควรมีรูปภาพ และ/หรือ ตารางประกอบ การอธิบายผลในตารางและรูปภาพต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน รูปภาพและตารางของบทความที่เป็นภาษาไทย ให้บรรยายเป็นภาษาไทย รูปภาพและตารางของบทความที่เป็นภาษาอังกฤษ ให้บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ
- รูปภาพและกราฟ โดยให้มี 1 รูป/กราฟ ต่อ 1 หน้า บันทึกเป็นไฟล์ที่มีนามสกุล JPEGs ที่มีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 dpi เท่านั้น ถ้าเป็นภาพถ่ายกรุณาส่งภาพต้นฉบับ ทางวารสารจะไม่รับภาพประกอบบทความที่เป็นการถ่ายสำเนาจากต้นฉบับและภาพแสกน เนื่องจากจะมีผลต่อคุณภาพในการพิมพ์ และในกรณีที่เป็นรูปลายเส้นให้วาดโดยใช้หมึกสีดำที่มีเส้นคมชัดเจน หมายเลขรูปภาพและกราฟให้เป็นเลขอารบิก และอยู่ด้านล่างของรูปภาพและกราฟ
- ตารางโดยให้มี 1 ตาราง ต่อ 1 หน้า หมายเลขตารางให้เป็นเลขอารบิก และอยู่ด้านบนของรูปภาพและกราฟ
- การอภิปรายผล/Discussion เป็นการอภิปรายผลการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านมีความเห็นคล้อยตาม เพื่อเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น เพื่อเสนอแนวทางที่จะใช้ประโยชน์ ผลการวิจัยและการอภิปรายผล (Results and Discussion) อาจนำมาเขียนตอนเดียวกันได้
- บทสรุป/Conclusion สรุปประเด็นและสาระสำคัญของการวิจัย
- กิตติกรรมประกาศ/Acknowledgements เพื่อแสดงความขอบคุณแก่ผู้ให้ความช่วยเหลือในการวิจัย อาจมีหรือไม่มีก็ได้
- เอกสารอ้างอิง/Reference เป็นรายชื่อเอกสารที่ใช้เป็นหลักในการค้นคว้าวิจัยที่ได้รับการตรวจสอบเพื่อนำมาเตรียมรายงาน และ มีการอ้างอิงถึงเฉพาะเอกสารที่ปรากฏในบทความเท่านั้น การอ้างอิงให้จัดเรียงตามลำดับตัวอักษร นำโดยกลุ่มเอกสารภาษาไทย โดยให้ยึดถือรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง ดังต่อไปนี้
การอ้างเอกสารในเนื้อเรื่องของบทความ (In-text Citations)
การอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่องใช้ ระบบนามปี (Name-year System) เท่านั้น โดยเริ่มจากชื่อผู้แต่งแล้วตามด้วยปีที่เผยแพร่เอกสารนั้น ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้เพียงชื่อสกุลนำหน้า แล้วตามด้วยปีที่เผยแพร่เอกสารถ้าเป็นเอกสารภาษาไทยให้ใช้ชื่อต้นนำหน้า และปีที่เผยแพร่เอกสาร ในกรณีที่ผู้แต่ง 2 คนให้ใส่ชื่อครบทุกคน และถ้ามากกว่า 2 คน ให้ใส่เฉพาะชื่อคนแรกแล้วตามด้วย “และคณะ” (ถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้ “et al.,”)
การเขียนรายการเอกสารอ้างอิง (Reference list) จาก
- หนังสือ
ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. พิมพ์ครั้งที่ (ถ้ามี). สำนักพิมพ์: เมืองที่พิมพ์.(ไม่ต้องใส่คำว่าจังหวัดนำหน้า)
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. โรงพิมพ์เจริญผล: นครนายก.
สมภพ ฐิตะวสันต์. (2537). หลักการผลิตพืช. สำนักพิมพ์รั้วเขียว: กรุงเทพฯ.
Shaeffer R.L., Mendenhall W. and Ott L. (1996). Elementary Survey Sampling. 5th Edition.
Duxbury Press: CA.
- หนังสือแปล
ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่องของหนังสือแปล แปลจาก ชื่อเรื่องในภาษาเดิม. โดย ชื่อผู้แปล. พิมพ์ครั้งที่ (ถ้ามี)
สำนักพิมพ์: เมืองที่พิมพ์. (ไม่ต้องใส่คำว่าจังหวัดนำหน้า)
Anne M. (2011). การเดินทางของเมล็ดพืช. แปลจาก Uber Land und Durch die Luft. So Reisen die
Pflazen. โดย หัทยา บุปผาทอง. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชันส์: กรุงเทพฯ.
- บทความหรือบทในหนังสือ
ผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการหรือผู้รวบรวม. ชื่อเรื่อง. สำนักพิมพ์: เมืองที่พิมพ์. เลขหน้า.
Trotter R.T. and Logan M.H. (1986). Informant consensus: A new approach for identifying potentially
effective medicinal plants. In Etkin N.L., Editor. Plants in Indigenous Medicine and Diet. Redgrave Publishing: Bedford Hills. 91–112.
- บทความในหนังสือรายงานประชุมทางวิชาการ/สัมมนาทางวิชาการ
ผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อเรื่องรายงานการประชุม/สัมมนา. หน่วยงานที่จัด. เมืองที่จัด. หน้า/เลขหน้า.
ปิยนาถ อิ่มดี. (2557). การฟื้นฟูผักพื้นบ้านและการบริโภคผักพื้นบ้านเพื่อสุขภาวะชุมชนในตําบลแหลมบัว อําเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม. ใน การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4“Rethink : Social Development for Sustainability in ASEAN Community” 11-13 มิถุนายน 2557. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี. 373-382.
เมธี สุกุลธนาศร, สมิต ยิ้มมงคล, สมเกียรติ ประสานพานิช และเลอชาติ บุญเอก. (2550). การใช้ผิวถั่วเหลืองเพื่อทดแทนมันเส้นในอาหารสำหรับโคขุน. ใน ประชุมวิชาการสัตวศาสตร์ ครั้งที่ 3 เรื่องยุคใหม่กับการเปลี่ยนแปลงปศุสัตว์ไทย 23 มกราคม 2550. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. 297-305.
- วารสาร
ผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ชื่อเต็ม). ปีที่(ฉบับที่): เลขหน้า.
ทะนงศักดิ์ ปัดสินธุ์. (2560). การศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพรในชุมชนบ้านเชียงเหียน ตําบลเขวา อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารแสงอิสาน. 4(1): 1-14.
พัชนี เค้ายา, ประสิทธิ์ ใจศิล, สนั่น จอกลอย และนิมิตร วรสูตร. (2546). ความเป็นไปได้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์งาลูกผสมเพื่อการค้า. วารสารแก่นเกษตร. 32: 63–73.
Panyadee P., Balslev H., Wangpakapattanawong P. and Inta A. (2016). Woody plant diversity in urban
homegardens in Northern Thailand. Economic Botany. 70(3): 285–302.
Choi B.R., Palmquist D.L. and Allen M.S. (2000). Cholecystokinin mediates depression of feed intake in
dairy cattle fed high fat diets. Domestic Animal Endocrinology. 19(3): 159–175.
- วิทยานิพนธ์
ผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์ ชื่อสาขา คณะ มหาวิทยาลัย.
นกพรรณ โสมาศรี. (2544). ศักยภาพของเชื้อราในดินสำหรับการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne
incognita) เชิงชีววิธีในมะเขือเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Granum M. (2003). A comparative study on the effect of cassava hay supplementation in
swamp buffaloes. M.Sc. Thesis. Department of Animal Science, Faculty of Agriculture,
Khon Kaen University.
- สื่ออิเล็กโทรนิกส์(สื่ออิเล็กโทรนิกส์)
ผู้เขียน. (ปี.) ชื่อบทความ. ชื่อวารสารหรือนิตยสาร. ปีที่ (เดือนหรือฉบับที่): เลขหน้า(ถ้ามี). ค้นเมื่อ วัน เดือน ปี.
ชื่อฐานข้อมูลหรือที่อยู่ของบทความ/(URL).
ประพฤทธิ์ จงใจภักดิ์, จเร กลิ่นกล่อม, และทวีศิลป์ จีนด้วง. (2549). การสร้างฝูงพ่อ-แม่พันธุ์ไก่
พื้นเมืองพันธุ์แดง: ค่าอัตราพันธุกรรมและคุณค่าการผสมพันธุ์ของลักษณะเศรษฐกิจในไก่พื้นเมือง. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2550. http://www.dld.go.th/breeding/r/49/ 09_hen_ebv.pdf.
Cosgrove D.R., Oelke E.A., Doll J.D., Davis D.W., Undersander D.J. and Oplinger E.S. (1991). Jerusalem
artichoke. Accessed 14 Dec. 2001. https://goo.gl/Vb5mQZ.
** หมายเหตุ: ควรใส่ link เต็มแบบไม่ย่อ URL
- ผู้แต่งเป็นหน่วยงาน
ชื่อหน่วยงาน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เล่มที่(ถ้ามี). ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี). สำนักพิมพ์: เมืองที่พิมพ์.
- มีเฉพาะชื่อบรรณาธิการเป็นผู้รวบรวม
ชื่อบรรณาธิการ หรือผู้รวบรวม หรือผู้เรียบเรียง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เล่มที่(ถ้ามี) ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี). สำนักพิมพ์: เมืองที่พิมพ์.
- รายงานการวิจัย
ผู้แต่ง.(ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. รายงานการวิจัย. ชื่อสาขา คณะ มหาวิทยาลัย จังหวัด.
ถวิกา ผาติดำรงกุล และจตุวัฒน์ วโรดมพันธ์. (2555). ประสิทธิการใช้งานจริงของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนชนิดแยกส่วนชนิดระบายความร้อนด้วยการกระทำ. รายงานการวิจัย. คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปทุมธานี.
- สิทธิบัตร
ชื่อเจ้าของสิทธิบัตร. (ปีที่พิมพ์). ชื่อสิทธิบัตร. หน้า/เลขหน้า. หมายเลขสิทธิบัตร. หน่วยงานที่ออกให้.
2. รูปแบบการพิมพ์บทความวิจัย
2.1 การตั้งค่าหน้ากระดาษ
- ระยะขอบ ขอบบน (Top Margin) ขอบล่าง (Bottom Margin) 2.54 ซม.
ขอบขวา (Right Margin) 2.54 ซม.
ขอบซ้าย (Left Margin) 2.54 ซม.
- รูปแบบตัวอักษร ใช้ TH SarabunPSK ตลอดทั้งบทความ ขนาด 14 ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
- การย่อหน้า ส่วนปกและส่วนเนื้อหา ย่อ 5 ตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 6 (หรือกำหนดแท็บ 0.5 นิ้ว)
- จำนวนหน้า 8 - 15 หน้า
- ชื่อบทความ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนา
- ชื่อผู้เขียน ภาษาไทย ขนาดตัวอักษร 16 จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
- ตัวเลขยก (บนนามสกุล) ขนาดตัวอักษรเท่ากับชื่อและนามสกุล 16
- ที่อยู่ ภาษาไทย ขนาดตัวอักษร 12
- ชื่อบทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนาและจัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
- เนื้อหาบทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14
- ชื่อคำสำคัญ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14 ตัวหนา
- คำสำคัญ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 3 - 5 คำ ขนาดตัวอักษร 14
- ชื่อหัวเรื่องใหญ่ ขนาด ตัวอักษร 18 หนา และ จัดชิดซ้าย ประกอบด้วย
- บทนำ/Introduction
- วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ/Materials and Methods หรือ วิธีดำเนินการวิจัย/Research Methodology
- ผลการวิจัยและอภิปรายผล/Results and Discussion
- บทสรุป/Conclusion
- กิตติกรรมประกาศ/Acknowledgements
- เอกสารอ้างอิง/Reference
- ชื่อหัวเรื่องรอง ขนาดตัวอักษร 16 ตัวหนา และจัดชิดซ้าย
- ชื่อหัวเรื่องย่อย ขนาดตัวอักษร 14 ตัวหนา
- เนื้อหาบทความ ขนาดตัวอักษร 14
- ชื่อตาราง ตัวอักษร 14 หนา วางชิดซ้ายด้านบนของตาราง เนื้อหาของตาราง ตัวอักษร ขนาด 14 หนา
- ชื่อรูปภาพ/กราฟ ตัวอักษร 14 หนา วางชิดซ้ายด้านล่างของภาพ เนื้อหาของภาพ ตัวอักษร ขนาด 14
เกณฑ์การประเมินบทความ
กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้นเกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณา จะส่งกลับเพื่อทำการแก้ไข ถ้าผ่านจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกและเมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความ
จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)
- บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ (Author Ethical Responsibilities)
- บทความที่จะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนและไม่ส่งต้นฉบับบทความซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น
- เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร
- บทความต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น
- ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความของตัวเอง เช่น ภาพ ตาราง เป็นต้น
- ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
- ผู้เขียนบทความจะต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
- ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการบทความจริง
- ผู้เขียนไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิง หรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง และควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
- การกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือในกิตติกรรมประกาศนั้น หากสามารถทำได้ผู้เขียนบทความควรขออนุญาตจากผู้ที่ผู้เขียนประสงค์จะขอบคุณเสียก่อน
- ในบทความผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือ เลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป
- บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Editor Roles and Responsibility)
- บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ และไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ
- บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และให้ผลที่น่าเชื่อถือ โดยนำผลของการวิจัยมาเป็นตัวชี้นำว่า สมควรตีพิมพ์เผยแพร่หรือไม่
- บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและผู้ประเมิน
- บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง
- เมื่อบรรณาธิการตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น จะต้องระงับการประเมินและติดต่อผู้เขียน เพื่อพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์การตีพิมพ์
- หากบรรณาธิการตรวจพบว่า บทความมีการลอกเลียนบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล ซึ่งสมควรถูกถอดถอน แต่ผู้เขียนปฏิเสธที่จะถอนบทความ บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน ซึ่งถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบต่อบทความของบรรณาธิการ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Reviewer Roles and Responsibilities)
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- หากผู้ประเมินบทความมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนผู้ประเมินบทความจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
- ผู้ประเมินบทความควรรับประเมินบทความเฉพาะสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ และหากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนกัน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
นโยบายส่วนบุคคล
ชื่อและอีเมล์ผู้แต่งที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้เฉพาะวัตถุประสงค์การตีพิมพ์ในวารสารนี้เท่านั้น และจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์อื่นหรือเผยแพร่แก่บุคคลอื่น