Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • กรุณาเลือกส่งไฟล์บทความเป็นไฟล์เวิร์ด(Word)
  • กรุณาเขียนบทความด้วย Template ของวารสารกำหนด
  • มีจริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)
  • วารสารมีการดำเนินการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

Author Guidelines

1. การเตรียมต้นฉบับสำหรับบทความวิจัย.   Template     ตัวอย่างบทความ

ก.   ส่วนปก

  1. ชื่อบทความ (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรกะทัดรัด ไม่ยาวเกินไป ถ้าบทความเป็นภาษาไทย ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  2. ชื่อผู้เขียน (Authors) ชื่อเต็ม – นามสกุลเต็ม ของผู้เขียนทุกคน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และให้ใส่หมายเลขพร้อมเครื่องหมายดอกจันทร์กำกับด้วย
  3. ที่อยู่ของผู้เขียนทุกคนให้ใส่ที่อยู่ให้ละเอียด ระบุ สังกัด (คณะ//มหาวิทยาลัย//จังหวัด) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามแบบฟอร์มกำหนด พร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ และ E-mail address ที่สามารถติดต่อได้ (ดูตัวอย่าง Template​)
  4. ตัวเลขยก ให้เขียนไว้บนนามสกุล เพื่อระบุที่อยู่ของผู้เขียน
  5. บทคัดย่อ (Abstract) ควรสั้น ตรงประเด็น ครอบคลุมสาระสำคัญของการศึกษา ได้แก่ วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลการวิจารณ์ เป็นต้น ถ้าบทความเป็นภาษาไทยจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้ภาษาไทยขึ้นก่อน และไม่ควรเกิน 300 คำ
  6. คำสำคัญ (Keywords) ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เป็นการกำหนดคำสำคัญที่สามารถไปใช้เป็นคำสืบค้นในระบบฐานข้อมูลไม่เกิน 5 คำ

หมายเหตุ: หากเนื้อหาส่วนปกเกินให้นำบทคัดย่อภาษาอังกฤษขี้นหน้าถัดไป

ข. ส่วนเนื้อหา

  1. บทนำ/Introduction เพื่ออธิบายถึงความสำคัญของปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย รวมถึงการตรวจเอกสาร โดย บทนำ ควรบอกความสำคัญหรือที่มาของปัญหาที่นำไปสู่การศึกษา วัตถุประสงค์ สมมติฐาน และอาจรวมถึงการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ที่เกี่ยวข้อง หากมีการอธิบายคำศัพท์หรือคำศัพท์เฉพาะที่เป็นวงเล็บภาษาอังกฤษต่อท้าย ให้ขึ้นต้นคำแรกภาษาอังกฤษด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น เชื้อก่อโรค (Pathogen) หากมี 2 คำเป็นต้นไป ให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะคำแรก เช่น ขนาดวงใส (Clear zone) และถ้าคำศัพท์นั้นมีตัวย่อให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ เช่น การตรวจนับจุลินทรีย์มาตรฐาน (Standard Plate Count; SPC)
  2. วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ/Materials and Methods อธิบายเครื่องมือและวิธีการดำเนินการวิจัยให้ชัดเจน
  3. ผลการวิจัย/Results เสนอผลการทดลอง วิจัย อย่างชัดเจน ตรงประเด็น ควรมีรูปภาพ และ/หรือ ตารางประกอบ การอธิบายผลในตารางและรูปภาพต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน รูปภาพและตารางของบทความที่เป็นภาษาไทย ให้บรรยายเป็นภาษาไทย รูปภาพและตารางของบทความที่เป็นภาษาอังกฤษ ให้บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ

- รูปภาพและกราฟ โดยให้มี 1 รูป/กราฟ ต่อ 1 หน้า บันทึกเป็นไฟล์ที่มีนามสกุล JPEGs ที่มีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 dpi เท่านั้น ถ้าเป็นภาพถ่ายกรุณาส่งภาพต้นฉบับ ทางวารสารจะไม่รับภาพประกอบบทความที่เป็นการถ่ายสำเนาจากต้นฉบับและภาพแสกน เนื่องจากจะมีผลต่อคุณภาพในการพิมพ์ และในกรณีที่เป็นรูปลายเส้นให้วาดโดยใช้หมึกสีดำที่มีเส้นคมชัดเจน หมายเลขรูปภาพและกราฟให้เป็นเลขอารบิก และอยู่ด้านล่างของรูปภาพและกราฟ

- ตารางโดยให้มี 1 ตาราง ต่อ 1 หน้า หมายเลขตารางให้เป็นเลขอารบิก และอยู่ด้านบนของรูปภาพและกราฟ

  1. การอภิปรายผล/Discussion เป็นการอภิปรายผลการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านมีความเห็นคล้อยตาม เพื่อเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น เพื่อเสนอแนวทางที่จะใช้ประโยชน์ ผลการวิจัยและการอภิปรายผล (Results and Discussion) อาจนำมาเขียนตอนเดียวกันได้
  2. บทสรุป/Conclusion สรุปประเด็นและสาระสำคัญของการวิจัย
  3. กิตติกรรมประกาศ/Acknowledgements เพื่อแสดงความขอบคุณแก่ผู้ให้ความช่วยเหลือในการวิจัย อาจมีหรือไม่มีก็ได้
  4. เอกสารอ้างอิง/Reference เป็นรายชื่อเอกสารที่ใช้เป็นหลักในการค้นคว้าวิจัยที่ได้รับการตรวจสอบเพื่อนำมาเตรียมรายงาน และ มีการอ้างอิงถึงเฉพาะเอกสารที่ปรากฏในบทความเท่านั้น การอ้างอิงให้จัดเรียงตามลำดับตัวอักษร นำโดยกลุ่มเอกสารภาษาไทย โดยให้ยึดถือรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง ดังต่อไปนี้

 การอ้างเอกสารในเนื้อเรื่องของบทความ (In-text Citations)

การอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่องใช้ ระบบนามปี (Name-year System) เท่านั้น โดยเริ่มจากชื่อผู้แต่งแล้วตามด้วยปีที่เผยแพร่เอกสารนั้น ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้เพียงชื่อสกุลนำหน้า แล้วตามด้วยปีที่เผยแพร่เอกสารถ้าเป็นเอกสารภาษาไทยให้ใช้ชื่อต้นนำหน้า และปีที่เผยแพร่เอกสาร ในกรณีที่ผู้แต่ง 2 คนให้ใส่ชื่อครบทุกคน และถ้ามากกว่า 2 คน ให้ใส่เฉพาะชื่อคนแรกแล้วตามด้วย “และคณะ” (ถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้ “et al.,”)

การเขียนรายการเอกสารอ้างอิง (Reference list) จากรูปแบบ APA 7th

 

2. รูปแบบการพิมพ์บทความวิจัย

       2.1   การตั้งค่าหน้ากระดาษ

  • ระยะขอบ ขอบบน (Top Margin) ขอบล่าง (Bottom Margin) 2.54 ซม.

            ขอบขวา (Right Margin) 2.54 ซม.

            ขอบซ้าย (Left Margin) 2.54 ซม.

  • รูปแบบตัวอักษร ใช้ TH SarabunPSK ตลอดทั้งบทความ ขนาด 14 ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
  • การย่อหน้า ส่วนปกและส่วนเนื้อหา   ย่อ 5 ตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 6 (หรือกำหนดแท็บ 0.5 นิ้ว)
  • จำนวนหน้า 8 - 15 หน้า
  • ชื่อบทความ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนา
  • ชื่อผู้เขียน ภาษาไทย ขนาดตัวอักษร 16 จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
  • ตัวเลขยก (บนนามสกุล) ขนาดตัวอักษรเท่ากับชื่อและนามสกุล 16
  • ที่อยู่ ภาษาไทย ขนาดตัวอักษร 12
  • ชื่อบทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนาและจัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
  • เนื้อหาบทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14
  • ชื่อคำสำคัญ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14 ตัวหนา
  • คำสำคัญ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 3 - 5 คำ ขนาดตัวอักษร 14
  • ชื่อหัวเรื่องใหญ่ ขนาด ตัวอักษร 18 หนา และ จัดชิดซ้าย ประกอบด้วย
  1. บทนำ/Introduction
  2. วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ/Materials and Methods หรือ  วิธีดำเนินการวิจัย/Research Methodology
  3. ผลการวิจัยและอภิปรายผล/Results and Discussion
  4. บทสรุป/Conclusion
  5. กิตติกรรมประกาศ/Acknowledgements
  6. เอกสารอ้างอิง/Reference

-   ชื่อหัวเรื่องรอง  ขนาดตัวอักษร 16 ตัวหนา และจัดชิดซ้าย

  • ชื่อหัวเรื่องย่อย ขนาดตัวอักษร 14 ตัวหนา
  • เนื้อหาบทความ ขนาดตัวอักษร 14
  • ชื่อตาราง ตัวอักษร 14 หนา วางชิดซ้ายด้านบนของตาราง เนื้อหาของตาราง ตัวอักษร ขนาด 14 หนา
  • ชื่อรูปภาพ/กราฟ ตัวอักษร 14 หนา วางชิดซ้ายด้านล่างของภาพ เนื้อหาของภาพ ตัวอักษร ขนาด 14

 เกณฑ์การประเมินบทความ

กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้นเกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณา จะส่งกลับเพื่อทำการแก้ไข ถ้าผ่านจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกและเมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความ

จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)

  • บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ (Author Ethical Responsibilities)
  1. บทความที่จะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนและไม่ส่งต้นฉบับบทความซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น
  2. เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร
  3. บทความต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น
  4. ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความของตัวเอง เช่น ภาพ ตาราง เป็นต้น
  5. ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
  6. ผู้เขียนบทความจะต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
  7. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการบทความจริง
  8. ผู้เขียนไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิง หรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง และควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
  9. การกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือในกิตติกรรมประกาศนั้น หากสามารถทำได้ผู้เขียนบทความควรขออนุญาตจากผู้ที่ผู้เขียนประสงค์จะขอบคุณเสียก่อน
  10. ในบทความผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือ เลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป
  • บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Editor Roles and Responsibility)
  1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ และไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
  2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ
  3. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และให้ผลที่น่าเชื่อถือ โดยนำผลของการวิจัยมาเป็นตัวชี้นำว่า สมควรตีพิมพ์เผยแพร่หรือไม่
  4. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและผู้ประเมิน
  5. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง
  6. เมื่อบรรณาธิการตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น จะต้องระงับการประเมินและติดต่อผู้เขียน เพื่อพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์การตีพิมพ์
  7. หากบรรณาธิการตรวจพบว่า บทความมีการลอกเลียนบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล ซึ่งสมควรถูกถอดถอน แต่ผู้เขียนปฏิเสธที่จะถอนบทความ บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน ซึ่งถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบต่อบทความของบรรณาธิการ

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Reviewer Roles and Responsibilities)

  1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
  2. หากผู้ประเมินบทความมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนผู้ประเมินบทความจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
  3. ผู้ประเมินบทความควรรับประเมินบทความเฉพาะสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ และหากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนกัน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ

Privacy Statement

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.