การศึกษากายภาพเชิงแสงของสีย้อมที่เป็นแคตไอออนที่ถูกขังในซีโอไลต์แอลทีแอลเพื่อใช้เป็นเสาอากาศเทียม

การศึกษากระบวนการฟิสิกส์แสงของสีย้อมที่เป็นแคตไอออนที่ถูกขังในซีโอไลต์แอลทีแอลเพื่อใช้เป็นเสาอากาศเทียม

ผู้แต่ง

  • สุริยา ดวงมณี
  • วิไลพร อินสุวรรณ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

พาราควอท อะคริฟราวินไฮโดรคลอไรด์ Fluorescence Resonance Energy Transfer

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติกายภาพเชิงแสงและการถ่ายเทพลังงานแสงของโมเลกุลสีย้อมพาราควอท(PQ) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวให้พลังงานไปยังโมเลกุลสีย้อมอะคริฟราวีนไฮโดรคลอไรด์ (AF) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับพลังงานซึ่งสีย้อมทั้งสองถูกกักขังในรูพรุนของซีโอไลต์แอลทีแอลรูปโพแทสเซียม (K-LTL) และซีโอไลต์แอลทีแอลในรูปโปรตอน (H-LTL) กระบวนการถ่ายเทพลังงานที่เกิดขึ้นจะเกิดผ่านกลไกของ Fluorescence Resonance Energy Transfer (FRET)จากการศึกษาพบว่าในการใส่โมเลกุลสีย้อมทั้งสองเข้าไปในรูพรุนของซีโอไลต์แอลทีแอลสามารถนำไปใช้เป็นเสาอากาศเทียมได้โดยพิจารณาจากค่าระยะห่างระหว่างตัวให้และรับพลังงาน Value of critical transfer distance (RDA) และประสิทธิภาพของFRET (%E) ของ PQ-AF_K-LTL คือ 23.4 Å, 74.9% และ PQ-AF_H-LTL คือ 23.8 Å, 78.1% ตามลำดับ

เผยแพร่แล้ว

29-08-2020 — Updated on 29-08-2020

Versions