ปุ๋ยชีวภาพจากจุลินทรีย์โพรไบโอติกของพืช

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ เพชรนวล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
  • ปฐมาภรณ์ ทิลารักษ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
  • พิริยาภรณ์ อันอาตม์งาม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
  • อมรรัตน์ สุวรรณโพธิ์ศรี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

คำสำคัญ:

ปุ๋ยชีวภาพ, จุลินทรีย์โพรไบโอติกของพืช, ผักบุ้ง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเกษตรกรสนใจนำปุ๋ยชีวภาพมาใช้ในการเพาะปลูกพืชเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไม่ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยชีวภาพที่หมักร่วมกับจุลินทรีย์โพรไบโอติกของพืช 2 ชนิด ได้แก่ Lactobacillus casei และ Bacillus subtilis ที่มีผลต่อการเจริญของผักบุ้ง โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพ 5 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1: L. casei  สูตรที่ 2: B. subtilis  สูตรที่ 3: L. casei และ B. subtilis (อัตราส่วน 1:1) สูตรที่ 4 L. casei และ B. subtilis(อัตราส่วน 3:1) และสูตรที่ 5: L. casei และ B. subtilis (อัตราส่วน 1:3) นำไปรดผักบุ้งสองสายพันธุ์ ได้แก่ ผักบุ้งจีนยอดไผ่-9 และผักบุ้งใบไผ่เขียวมรกต นาน 35 วัน พบว่าปุ๋ยชีวภาพสูตรที่ 5 เป็นสูตรที่ดีที่สุดทำให้ผักบุ้งทั้งสองสายพันธุ์มีการเจริญเติบโตสูงสุด โดยให้ค่าเฉลี่ยสูงสุดของน้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง และความสูงของลำต้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) ยกเว้นค่าความยาวราก จากผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นว่าปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ผสม L. casei และ B. subtilis สามารถนำมาใช้ในการเพาะปลูกและช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของผักบุ้งได้ รวมถึงเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพสำหรับนำไปใช้กับพืชชนิดอื่น

เผยแพร่แล้ว

28-12-2020 — Updated on 29-12-2020

Versions