This is an outdated version published on 28-12-2020. Read the most recent version.

การประเมินสายพันธุ์ข้าวโพดเทียนที่คัดเลือกจากพันธุ์พื้นเมือง

ผู้แต่ง

  • ปราโมทย์ พรสุริยา คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • ประพฤติ พรหมสมบูรณ์
  • หนูจันทร์ ศิริสุวรรณ์

คำสำคัญ:

ข้าวโพดเทียน, สายพันธุ์, พันธุ์พื้นเมือง, อัตราพันธุกรรม

บทคัดย่อ

ข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมืองของไทยมีความหลากหลายและมีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ การประเมินเชื้อพันธุกรรมดังกล่าวจึงเป็นงานวิจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางการเกษตรและประเมินอัตราพันธุกรรมอย่างกว้างของสายพันธุ์ผสมตัวเองในชั่วรุ่นที่ 1 ของข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมืองบ้านเกาะลอย จากประชากรเริ่มต้นจำนวน 1,000 ต้น คัดเลือกต้นที่มีลักษณะดีในเบื้องต้นด้วยสายตา จำนวน 100 ต้น ผสมตัวเองและเก็บเมล็ดพันธุ์แยกต้น คัดเลือกฝักที่ดีมาปลูกทดสอบจำนวน 36 สายพันธุ์ (S1 lines) เปรียบเทียบกับพันธุ์การค้า 3 พันธุ์ ในแผนการทดลองแบบ Augmented randomized complete block design จำนวน 6 บล็อก ผลการทดลองพบว่าการทดสอบสามารถตรวจสอบความแตกต่างและเรียงลำดับผลผลิตของสายพันธุ์และพันธุ์การค้าได้ โดยสายพันธุ์S1ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 532 – 1,791 กิโลกรัมต่อไร่ เฉลี่ย 1,190 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนพันธุ์การค้าตั้งแต่ 613 – 1,914 กิโลกรัมต่อไร่ เฉลี่ย 1,351 กิโลกรัมต่อไร่ เปอร์เซ็นต์ผลผลิตฝักสดปอกเปลือก (% shelling) ของสายพันธุ์เฉลี่ย 68.28 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพันธุ์การค้าเฉลี่ย 67.49 เปอร์เซ็นต์ค่าอัตราพันธุกรรมอย่างกว้างของลักษณะฝัก พบว่าลักษณะฝักมีค่าอัตราพันธุกรรมอย่างกว้างต่ำ (8.88 – 33.59 เปอร์เซ็นต์) แสดงว่าความแปรปรวนของสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลสูงต่อการแสดงออกของลักษณะ ดังนั้นการคัดเลือก โดยการทดสอบจากลูกผสมตัวเองในชั่วรุ่นที่มากขึ้นจึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการปรับปรุงประชากรข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมืองดังกล่าว

เผยแพร่แล้ว

28-12-2020

Versions