This is an outdated version published on 30-08-2021. Read the most recent version.

การแปลงเพศปลาหมอสีฟลาวเวอร์ฮอร์นโดยใช้ฮอร์โมน 17 อัลฟา-เมทธิลเทสโทสเตอร์โรน ระดับความเข้มข้นต่างกัน

ผู้แต่ง

  • ธวัฒน์ชัย งามศิริ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
  • อรุณชัย กาหลง

คำสำคัญ:

ปลาหมอครอสบรีด, 17 อัลฟา-เมทธิลเทสโทสเตอโรน, แปลงเพศ

บทคัดย่อ

การแปลงเพศปลาหมอสีฟลาวเวอร์ฮอนให้เป็นเพศผู้โดยการให้อาหารผสมฮอร์โมน 17 อัลฟา-เมทธิลเทสโทสเตอร์โรน ระดับความเข้มข้น 0, 20, 40 และ 60 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เป็นระยะเวลา 21 วัน ผลการทดลองพบว่า เปอร์เซ็นต์อัตราการแปลงเพศแต่ละการทดลอง เท่ากับ 53.62±14.32, 64.82±3.21, 73.27±0.92 และ 77.10±9.32 ตามลำดับ โดยชุดการทดลองที่ 3 และ 4 เปอร์เซ็นต์ อัตราแปลงเพศมากกว่าชุดการทดลองที่ 1 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) อัตราการเจริญเติบโตในด้านน้ำหนักเฉลี่ย ชุดการทดลองที่ 1, 2, 3 และ 4 มีน้ำหนักเฉลี่ย เท่ากับ 34.93±3.84, 31.27±4.82, 31.07±6.40 และ 22.53±1.67 กรัม ตามลำดับ ผลการทดสอบทางสถิติแต่ละชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ     (p>0.05) ความยาวเฉลี่ยในแต่ละชุดการทดลอง มีค่าเท่ากับ 10.87±0.31, 10.53±0.47, 11.40±0.2 และ 9.60±0.10 เซนติเมตร ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์อัตราการรอดตายเฉลี่ยสูงสุดในชุดการทดลองที่ 4 มีค่าเท่ากับ 76.47±2.94 เปอร์เซ็นต์ และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) กับทุกชุดการทดลอง

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021 — Updated on 30-08-2021

Versions