This is an outdated version published on 30-08-2021. Read the most recent version.

ประสิทธิภาพการย่อยได้คาร์โบไฮเดรตของฟางข้าวหมักในปลาดุกลูกผสม

ผู้แต่ง

  • ศุภลักษณ์ เกตุตากแดด คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • นิตยา ภูงาม
  • กฤติมา กษมาวุฒิ
  • สุริยา อุดด้วง
  • กลวัชร หาญมานพ
  • ญานิศา สัตปานนท์

คำสำคัญ:

ฟางข้าว, การหมัก, การย่อยได้, ปลาดุกลูกผสม

บทคัดย่อ

การศึกษาประสิทธิภาพการย่อยได้คาร์โบไฮเดรตของฟางข้าวหมักในปลาดุกลูกผสมในห้องปฏิบัติการ โดยวางแผนการทดลองแบบ 4x5 แฟคทอเรียลแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยหมักฟางข้าวในสภาวะไร้อากาศร่วมกับการกำหนดปัจจัย 2 ปัจจัย ประกอบด้วยปัจจัยที่ 1 คือระยะเวลาการหมักที่ 0, 24, 48 และ62 ชั่วโมง ปัจจัยที่ 2 คือ สารช่วยหมัก โดยการเติมกากน้ำตาลที่ระดับ 0, 2, 4, 6 และ 8 % มีกลุ่มการทดลองทั้งหมด 20 กลุ่มการทดลอง กลุ่มการทดลองละ 6 ซ้ำ โดยนำตัวอย่างปลาดุกลูกผสมน้ำหนักเฉลี่ย 161.54±10.96 กรัมต่อตัว มาสกัดเอนไซม์จากลำไส้ พบกิจกรรมของเอนไซม์อะไมเลส 0.344±0.043 Unit/mg protein และกิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลส 0.020±0.003 Unit/mg proteinเมื่อทดสอบประสิทธิภาพการย่อยฟางข้าวหมักตามชุดการทดลอง พบว่า ระดับกากน้ำตาลและระยะเวลาในการหมักมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการย่อยได้ของน้ำตาลมอลโตส (p≤0.05) และยังพบอิทธิพลร่วมระหว่างระดับกากน้ำตาล และระยะเวลาการหมักฟางข้าว (p≤0.05) ซึ่งเมื่อเติมกากน้ำตาลระดับต่างกัน 5 ระดับแต่ไม่มีการหมักฟางข้าวพบว่า ไม่มีผลต่อการย่อยได้คาร์โบไฮเดรตซึ่งปลาดุกลูกผสมสามารถย่อยคาร์โบไฮเดรตได้ 58.57-59.21 มิลลิกรัมมอลโตสต่อฟางข้าว 1 กรัม ระดับที่เหมาะสมในการหมักฟางข้าวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยคาร์โบไฮเดรตของเอนไซม์ปลาดุกลูกผสม คือ การเติมกากน้ำตาลที่ระดับ 2% ร่วมกับการหมักเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยใช้จุลินทรีย์จากธรรมชาติ โดยมีค่าเท่ากับ 77.28±1.68 มิลลิกรัมมอลโตสต่อฟางข้าว 1 กรัม ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อเพิ่มมูลค่าและการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวในอาหารปลาดุกลูกผสมได้

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021

Versions