This is an outdated version published on 30-08-2021. Read the most recent version.

ความหลากชนิดของพืชระดับกลางและพืชระดับล่างในป่าชุมชน กับการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นของชุมชนชาวไทยเขมร จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สมชญา ศรีธรรม Department of Landscape Technology, Faculty of Agriculture and Technology, Rajamangala University of Technology Isan, Surin Campus
  • บรรณวิชญ์ ศิริโชติ
  • ยสินทร จงเทพ

คำสำคัญ:

พืชระดับกลาง, พืชระดับล่าง, พรรณไม้ท้องถิ่น, การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น, ชาวไทยเขมรสุรินทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดของพืชระดับกลางและพืชระดับล่าง และศึกษาการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นชุมชนชาวไทยเขมรจังหวัดสุรินทร์ โดยวิธีการสำรวจป่าชุมชนจำนวน 4 ป่า สัมภาษณ์ชุมชน 3 ตำบลในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ รวม 30 คน ผลการศึกษาพบพรรณไม้ 32 ชนิด 31 สกุล 18 วงศ์ แบ่งเป็นไม้พุ่ม 22 ชนิด (68.75%) ไม้รอเลื้อย 8 ชนิด (25%) และ ไม้ล้มลุก 2 ชนิด (6.25%) วงศ์ที่พบมากที่สุดคือ Annonaceae, Fabaceae, Malvaceae, Phyllanthaceae และ Rubiaceae พบวงศ์ละ 3 ชนิด (14.29%) พรรณไม้ทุกชนิดมีการนำมาใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นจำแนกได้ 8 ประเภท ดังนี้ ใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรมากที่สุด 26 ชนิด (81.25%) รองลงมาคือ อาหาร 15 ชนิด (46.88%) ไม้ประดับ 15 ชนิด (46.88%) เครื่องมือเครื่องใช้ 13 ชนิด (40.63%) เชื้อเพลิง 10 ชนิด (31.25%) พิธีกรรม 4 ชนิด (12.50%) ไม้ย้อมสี 3 ชนิด (9.38%) และอาหารและยารักษาสัตว์ 3 ชนิด (9.38%) ตามลำดับ ชนิดที่มีการใช้ประโยชน์มากที่สุดทั้ง 6 ประเภท คือ โปร่งกิ่ว (Dasymaschalon lomentaceum) รองลงมามีการใช้ประโยชน์ 5 ประเภท ได้แก่ ไผ่เพ็ก (Arundinaria pusilla) และพลองเหมือด (Memecylon edule) ใช้ประโยชน์ 4 ประเภท ได้แก่ ทองพันดุล (Decaschistia parviflora) พลองแก้มอ้น (Rhodamnia dumetorum) และมะเม่า (Antidesma ghaesembilla) และใช้ประโยชน์ได้ 3 ประเภท ได้แก่ กาหลง (Bauhinia acuminata) นมแมว (Melodorum siamense) ปอพราน (Colona auriculata) พุดน้ำ (Kailarsenia godefroyana) สีฟันคนทา (Harrisonia perforata) และเสียวใหญ่ (Phyllanthus taxodiifolius) ตามลำดับ ส่วนของพืชที่มีการใช้ประโยชน์มากที่สุดคือ ราก 21 ชนิด (65.63%) รองลงมาคือ ลำต้น 16 ชนิด (50.00%) งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้และภูมิปัญญาของชุมชนที่มีคุณค่า เพื่อสืบสานการใช้ประโยชน์ของพรรณไม้ในท้องถิ่นให้มีความยั่งยืนสืบไป

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021

Versions